welcome to my blog ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกค้ะ

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

วันในเทศกาลสงกรานต์

ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก"

การคำนวณวันเถลิงศกนั้น ตามคัมภีร์สุริยยาตร์[2] จะต้องมีการหาหรคุณเถลิงศก (และค่าอื่น ๆ สำหรับคำนวณตำแหน่งดาวในปีนั้น ๆ เรียกว่าอัตตาเถลิงศก) ทุก ๆ ปี ซึ่งค่าที่ได้จะเป็นตัวเลขนับ 1 ที่วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 (วันเถลิงศก จ.ศ. 0 ตามปฏิทินเกรกอเรียน) ซึ่งเป็นวันเถลิงศกในปีนั้นมาเรื่อย ๆ จนถึงวันเถลิงศกของปีที่ต้องการ โดยมีวิธีการคือ

  • ตั้งเกณฑ์ 292207 (เวลาเป็นกัมมัชในหนึ่งปี โดยที่ 1 กัมมัช = 108 วินาที และ 800 กัมมัช = 1 วัน) ลง เอาจุลศักราชปีนั้นคูณ ได้เท่าใด เอา 373 บวก แล้วเอา 800 หาร ลัพธ์เอา 1 บวก เป็นหรคุณเถลิงศก
  • เอา 800 ตั้ง เอาเศษจากข้อก่อนมาลบ ได้ กัมมัชพลเถลิงศก (หมายถึงเวลาที่เหลือจนกระทั่งสิ้นวันเถลิงศก หน่วยเป็นกัมมัช)

เนื่องจากวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 เวลา 00:00 น. มีหรคุณจูเลียนเป็๋น 1954167.5 เพื่อความง่ายจึงสามารถหาหรคุณจูเลียน(Julian day number) ของวันเถลิงศกได้ตามสูตร

JD วันเถลิงศก = [(292207* (พ.ศ.-1181) +373)/800] + 1954167.5

สำหรับวันมหาสงกรานต์ สามารถประมาณได้จากหรคุณเถลิงศก โดยให้ถอยหรคุณเถลิงศกไป 2 วัน 3 ชั่วโมง 57 นาที 36 วินาที (2.165 วัน หรือ 1732 กัมมัช) หรืออาจจะคำนวณตำแหน่งที่สังเกตได้จริง (สมผุส) ของดวงอาทิตย์ว่ายกเข้าสู่ราศีเมษ ณ วันเวลาใด ทำให้ได้สูตรหาหรคุณจูเลียนของวันมหาสงกรานต์ (โดยประมาณ) เป็น

JD วันมหาสงกรานต์ = [(292207* (พ.ศ.-1181) - 1359)/800] + 1954167.5

จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) ซึ่งบางปีก็อาจจะตรงกับวันใดวันหนึ่ง

[แก้]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น