welcome to my blog ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกค้ะ

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

จากวอลมาร์ท (Walmart) ถึง โลตัส (Lotus)


วอลมาร์ท เป็นชื่อของร้านค้าแนวดิสเคาน์สโตร์สัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งสาขาแรก
ที่มลรัฐอาคันซอ (Arkansas) ในปี พ.ศ. 2505 โดย แซม วอลตัน (Sam
Walton) เพื่อเป็นร้านขายของราคาถูก ปัจจุบันใช้สโลแกนว่า "Save Money
Live Better" แทนสโลแกนเดิม คือ "Always Low Prices, Always"
ซึ่งใช้มาก่อนหน้านี้ 19 ปี

วอลมาร์ทยังเป็น "ต้นแบบ" ของร้านค้าประเภทเดียวกันนี้ เช่น เทสโกโลตัส
และคาร์ฟูร์ ในอดีตโลตัสของซีพีที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2537 ก็ได้นำคนจากวอลมาร์ท
เข้ามาเป็นที่ปรึกษาและวางระบบให้ ในครั้งนั้นวอลมาร์ทเกือบจะเข้ามาขยาย
การลงทุนในไทย แต่ก็เลือกไปที่จีนแทน เพราะเห็นโอกาสทางการตลาดที่ใหญ่กว่า

ภายหลังกลุ่มเทสโก้เข้ามาเทคโอเวอร์โลตัส และเปลี่ยนชื่อเป็น เทสโก้โลตัส
ต่อมาเมื่อมีการร่วมทุนจากต่างประเทศกับกลุ่มค้าปลีกไทยมากขึ้น จึงส่งผลให้
ร้านค้าปลีกในแบบดิสเคาน์สโตร์หรือไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย
ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

แม้ว่าวอลมาร์ทจะไม่มีสาขาในประเทศไทย
แต่ในฐานะที่มียอดขายรวมมากที่สุดในโลก
จึงถือเป็น "เบอร์ 1" และถือเป็น "ตำนาน"
ของร้านค้าปลีกในแนวดิสเคาน์สโตร์

ดูโทรทัศน์มาก อาจทำให้เสียชีวิตได้ง่าย


ผลวิจัยโดย David Dunstan นักวิจัยชาวออสเตรเลีย จากสถาบัน Baker IDI
Heart and Diabetes ในเมลเบิร์น (Melbourne) ที่สำรวจจากชายหญิง ที่มีสุขภาพดีอายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 8,800 คน เป็นเวลา 6 ปี

พบว่า 80% ของผู้ที่ดูโทรทัศน์มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มเสียชีวิต
ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มากกว่าผู้ที่ดูโทรทัศน์น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน
และในการดูโทรทัศน์ที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ชั่วโมง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดถึง 18%

เนื่องจากการทำกิจกรรมที่นั่งเฉยๆ เช่น ดูโทรทัศน์นานๆ ทำให้พวกเราไม่ขยับตัว
เป็นเวลานาน ทำให้กระบวนการเผาผลาญในร่างกายช้าลง และส่งผลให้เกิดการ
เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

คำแนะนำสำหรับกรณีนี้ คือ หลีกเลี่ยงการการนั่งเป็นเวลานาน เปลี่ยนอิริยาบท
ขยับร่างกายในส่วนที่ไม่ค่อยได้ขยับบ้าง หรือในขณะชมโทรทัศน์ควร
ทำกิจกรรมอื่นที่ได้ขยับตัวบ้าง เช่น พับเสื้อผ้าที่ซักแล้ว หรือเปลี่ยนช่องโทรทัศน์
ด้วยการลุกเดินไปกดเองแทนการใช้รีโมท

ปลั๊กสามตา


เต้ารับ (Socket-outlet หรือ Receptacle) หรือปลั๊กตัวเมีย คือ
ขั้วรับสำหรับหัวเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งอยู่กับที่ เช่น
ติดอยู่กับผนังอาคาร อาจมีทั้งแบบ 2 รู หรือ 3 รู

เต้าเสียบ (Plug) หรือปลั๊กตัวผู้ คือ ขั้วหรือหัวเสียบที่มีสายไฟติดอยู่กับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า มีขาโลหะยื่นออกมา 2 ขา หรือ 3 ขา เพื่อเสียบเข้ากับเต้ารับ
ทำให้สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้

ส่วน ปลั๊กสามตา มีคำเรียกอย่างเป็นทางการว่า "รางเต้ารับ" หรือ "เต้ารับ
ที่ทำเป็นชุด" ในภาษาอังกฤษเรียก Extension Socket ในอดีตที่ติดตลาด
ได้รับความนิยม และเห็นบ่อยที่สุด คือ แบบตลับกลมๆ หมุนเก็บสายไฟ
ไว้ด้านในได้ และมีช่องเสียบปลั๊กแบบ 2 ขา อยู่ทั้งหมด 3 ช่อง จึงทำให้นิยม
เรียกกันว่า "ปลั๊กสามตา"

ปัจจุบันปลั๊กสามตาพัฒนารูปลักษณ์ทันสมัยขึ้น พร้อมเพิ่มช่องเสียบเป็น 4 ช่อง
หรือ 6 ช่อง มีให้เลือกหลายรูปแบบ หลายราคา แต่ยังนิยมเรียกชื่อเดิม
ซึ่งในการเลือกซื้อควรเลือกที่ได้มาตรฐาน มอก. 166/2549 มีสปริงของเต้ารับ
(หรือตัวล็อกขาเต้าเสียบ) ทำจากทองเหลือง ตัวกล่องฉนวนทำจากพลาสติก ABS
และมีระบบตัดไฟอัติโนมัติ หรือมีฟิวส์ในตัว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด
เพลิงไหม้ในกรณีไฟฟ้าลัดวงจร
คิดและมองด้านบวกในทุกๆเรื่อง จะทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่มีความเครียด และจะไม่พบความผิดหวังท้อใจ
กล้าเผชิญกับอุปสรรคในชีวิต แล้วจะพบว่าเราทุกคนมีศักยภาพที่จะผ่าพ้นมันไปได้ และเมื่อมีเงามืด ย่อมมีแสงสว่างเสมอ
ยิ้มเสมอ จะเป็นที่รักของทุกๆคน และทำให้จิตใจตัวเองเบิกบาน
ออกกำลังกายเป็นประจำ ปราศจากโรคภัย และเมื่อร่างกายแข็งแรง จิตใจก็แข็งแรง ผ่องใส
ช่างฝัน จะทำให้มีความมุมานะและมองความสำเร็จของเรา กล้าที่จะลงมือทำ
ความเพียรพยายาม จะช่วยให้ทุกๆอย่างสำเร็จ
หมั่นหาึความรู้เพิ่มเติม ทำให้เรามีวิสัยทัศน์กว้างขวาง มีสติปัญญาดี เข้าใจในสิ่งต่างๆและธรรมชาติของมัน เพิ่มพูนประสบการณ์
คิดและพูดแต่สิ่งที่ดี ทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

ไม่ต้องมีดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ก็มีสิ่งมีชีวิตได้

สิ่งมีชีวิตบนโลก และกลไกลทางชีววิทยาทั้งมวลบนโลก ล้วนขับเคลื่อนได้ด้วยพลังงานจากดวงอาทิตย์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดวงอาทิตย์จึงเปรียบเสมือนมารดาของสรรพชีวิตบนโลก หากจะมีดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งในระบบสุริยะอื่นจะมีสิ่งมีชีวิตบ้าง ก็จะต้องอยู่ในเงื่อนไขเดียวกับโลก นั่นคือจะต้องรับพลังงานจากดาวฤกษ์ที่ตนเป็นบริวารอยู่

แต่การศึกษาใหม่โดยนักเอกภพวิทยาจากมหาวิทยาลัยชิคาโกพบว่า ดาวเคราะห์คล้ายโลกก็อาจมีอุณหภูมิสูงพอจะเอื้ออาศัยได้โดยไม่ต้องมีดาวฤกษ์ โดยมีแหล่งความร้อนจากการสลายของธาตุกัมมันตรังสีภายในดาวเคราะห์เอง และมีชั้นน้ำแข็งห่อหุ้มเป็นฉนวน

ต้นกำเนิดของงานวิจัยนี้มาจากความขี้สงสัยของนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คนหนึ่งที่เกิดสงสัยว่า โลกจะเป็นอย่างไรหากไม่มีดวงอาทิตย์ แนวคิดนี้กระตุ้นให้สหาย เอริก สวิตเซอร์ ซึ่งเป็นนักเอกภพวิทยา เริ่มงานวิจัยเพื่อไขปัญหานี้

ผลการคำนวณของสวิตเซอร์เผยว่า หากไม่มีพลังงานจากดาวฤกษ์แล้ว ดาวเคราะห์แบบโลกจะต้องมีแผ่นน้ำแข็งหนา 15 กิโลเมตรปกคลุมอยู่เพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่เกิดจากการสลายของ ธาตุกัมมันตรังสีภายในดาวเคราะห์ เช่น โพแทสเซียม-40 ยูเรเนียม-238 และ ทอเรียม-232 รวมถึงพลังงานดั้งเดิมที่ตกค้างมาจากการสร้างดาวเคราะห์ด้วย

หรือหากน้ำแข็งหนาไม่ถึง 15 กิโลเมตร ก็ยังปกป้องความร้อนจากภายในได้ หากมีชั้นบรรยากาศเยือกแข็งเช่นน้ำแข็งแห้ง ซึ่งก็คือคาร์บอนไดออกไซค์เยือกแข็ง ปกคลุมอีกชั้นหนึ่ง

ดาวเคราะห์ที่มีลักษณะเช่นนี้ จะอุ่นพอที่จะให้มีสิ่งมีชีวิตวิวัฒน์และดำรงอยู่ได้

"โลกเราก็อาจมีลักษณะแบบนั้นได้หลังจากที่ดวงอาทิตย์ดับไปแล้วประมาณ 10,000 ล้านปี ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นน้ำในมหาสมุทรจะเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็งทั้งหมด" โดเรียน แอบบอต นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิคาโกกล่าว

สวิตเซอร์ไม่ได้คาดไปถึงว่า สิ่งมีชีวิตในดาวเคราะห์ที่ไม่มีดาวฤกษ์จะมีลักษณะเช่นใด แต่ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งปกคลุมอาจให้แนว คำตอบนี้ได้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดวงจันทร์ยูโรปาและคัลลิสโตของดาวพฤหัสบดีและเอนเซลา ดัสของดาวเสาร์มีชั้นของมหาสมุทรใต้พิภพที่เป็นของเหลวอยู่ มีแหล่งพลังงาน มีน้ำ และมีสภาพเคมีอย่างที่ชีวิตต้องการ

ความคิดว่าอาจมีดาวเคราะห์บางดวงที่พเนจรอย่างอิสระไม่โคจรรอบดาวฤกษ์ไม่ ใช่ความคิดที่เพ้อเจ้อเสียทีเดียว นักดาราศาสตร์ได้คำนวณว่าการรบกวนกันเองระหว่างดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ หรือการรบกวนจากดาวฤกษ์ที่ผ่านเข้ามาใกล้ อาจทำเกิดแรงเหวี่ยงให้ดาวเคราะห์หลุดกระเด็นออกจากระบบสุริยะได้

จากแบบจำลองการกำเนิดระบบดาวเคราะห์แสดงว่ามีโอกาสเกิดดาวเคราะห์ประเภทนี้อยู่มากมาย โดยเฉลี่ยแล้วอาจมี 1-2 ดวงต่อระบบสุริยะ

แม้แต่ระบบสุริยะของเราเอง ก็อาจเคยเกิดเหตุการณ์นี้มาก่อน โลกเราอาจเคยมีดาวเคราะห์พี่น้องร่วมครอบครัวที่ลักษณะใกล้เคียงกันแต่ได้ หลุดออกจากระบบไปนานแล้ว เพียงแต่ทฤษฎีนี้ยังขาดหลักฐานยืนยันเท่านั้นเอง

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

ฟาร์มโชคชัย & ปาลิโอ้


ในปี ค.ศ. 2012 จะเกิดพายุสุริยะโจมตีโลก?


พายุสุริยะคืออะไร?

พายุสุริยะคือกระแสของอนุภาคพลังงาน สูงที่พัดมาจากดวงอาทิตย์ด้วยปริมาณและความเร็วสูงกว่าระดับปกติ อนุภาคนี้มีทั้งอิเล็กตรอนและโปรตอน เป็นตัวการทำให้เกิดแสงเหนือใต้ และพายุแม่เหล็ก ซึ่งส่งผลต่อดาวเทียม ยานอวกาศ และระบบสายส่งบนโลก

พายุสุริยะมีผลกระทบต่อโลกอย่างไร?

ปกติพายุสุริยะจะไม่ ส่งผลโดยตรงต่อโลกและสิ่งมีชีวิตบนโลก เนื่องจากโลกมีบรรยากาศและสนามแม่เหล็กคุ้มกัน มีเพียงนักบินอวกาศที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในอวกาศเท่านั้นที่อาจได้รับ อันตราย ทั้งจากพายุสุริยะและรังสีจากดวงอาทิตย์

ในอดีต พายุสุริยะเคยสำแดงฤทธิ์เดชให้เห็นแล้วหลายครั้ง เช่น ใน ค.ศ. 1859 พายุสุริยะทำให้สายโทรเลขลัดวงจรจนทำให้เกิดเพลิงไหม้หลายแห่งในยุโรปและ อเมริกา ส่วนใน พ.ศ. 2532 พายุสุริยะก็เคยทำให้หม้อแปลงของไฟฟ้าระเบิดจนทำให้ไฟดับทั่วทั้งจังหวัด ควิเบกของแคนาดามาแล้ว นอกจากนี้ดาวเทียมและยานอวกาศที่อยู่ในอวกาศก็อาจเสียหายจากพายุสุริยะได้ ในอดีตเคยมีดาวเทียมหลายดวงเสียหายจากเหตุการณ์นี้มาแล้ว เนื่องจากปัจจุบันชีวิตประจำวันของผู้คนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอวกาศมาก ทั้งโทรศัพท์ โทรทัศน์ การกระจายเสียงวิทยุ ระบบบอกพิกัด ฯลฯ ดังนั้นหากมีพายุสุริยะมาทำให้ดาวเทียมเหล่านี้เสียหายไป ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างแน่นอน

ในปี ค.ศ. 2012 จะเกิดพายุสุริยะโจมตีโลกจริงหรือ?

คำตอบคือ จริง

พายุสุริยะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา มีความชุกผันแปรขึ้นลงเป็นคาบ คาบละประมาณ 11 ปี คาบที่ชัดเจนนี้ทำให้นักดาราศาสตร์พยากรณ์ได้ว่าช่วงสูงสุดหรือต่ำสุดของ วัฏจักรสุริยะจะเกิดขึ้นเมื่อใด ช่วงสูงสุดของวัฏจักรที่จะเกิดในครั้งถัดไปคาดว่าจะอยู่ในช่วงกลาง ค.ศ. 2013

ช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะกินเวลายาวนานข้ามปี ดังนั้นแม้ช่วงสูงสุดจะอยู่ใน ค.ศ. 2013 แต่พายุสุริยะก็เริ่มจะกระหน่ำโลกตั้งแต่ก่อน ค.ศ. 2012 แล้ว

แม้ช่วงปี 2013 จะอยู่ในช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะ แต่พายุสุริยะที่จะเกิดขึ้น ก็ไม่ได้รุนแรงมากไปกว่าที่เคยเกิดขึ้นในรอบก่อน ซึ่งเกิดในราวปี ค.ศ. 2000, 1989, และก่อนหน้านั้น ความจริงมีแนวโน้มว่าช่วงสูงสุดของวัฏจักรที่จะมาถึงในปี 2013 จะอ่อนกำลังกว่าวัฏจักรก่อนหน้านี้เสียด้วยซ้ำ

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่เรามองข้าม

บทความนี้เขียนขึ้นโดย จอร์จ คอลลิน ซึ่งเป็นดาราตลกที่โด่งดัง เขาเขียนขึ้นในวันที่ 11 กันยายน (ตึกเวิรด์เทรดถล่ม) หลังจากที่ทราบว่าภรรยาของเขาเสียชีวิตในตึกนั้นด้วย.. ทำ..ในสิ่งที่อยากจะทำ อยากให้ทุกคนได้อ่าน ข้อความนี้ มีความหมายดีนะ

ทุกวันนี้เรามีตึกสูงขึ้น มีถนนกว้างขึ้นแต่ความอดกลั้นน้อยลง

เรามีบ้านใหญ่ขึ้น แต่ครอบครัวของเรากลับเล็กลง

เรามียาใหม่ ๆ มากขึ้น แต่สุขภาพกลับแย่ลง

เรามีความรักน้อยลง แต่มีความเกลียดมากขึ้น

เราไปถึงโลกพระจันทร์มาแล้ว แต่เรากลับพบว่า

แค่การข้ามถนนไปทักทายเพื่อนบ้านกลับยากเย็น…………

เราพิชิตห้วงอวกาศมาแล้ว แต่แค่ห้วงในหัวใจกลับไม่อาจสัมผัสถึง

เรามีรายได้สูงขึ้น แต่ศีลธรรมกลับตกต่ำลง

เรามีอาหารดี ๆ มากขึ้นแต่สุขภาพแย่ลง

ทุกวันนี้ทุกบ้านมีคนหารายได้ได้ถึง 2 คน แต่การหย่าร้างกลับเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น……จากนี้ไป……ขอให้พวกเรา อย่าเก็บของดี ๆ ไว้โดยอ้างว่าเพื่อโอกาสพิเศษ

เพราะทุกวันที่เรายังมีชีวิตอยู่คือ ……โอกาสที่พิเศษสุด……แล้ว

จงแสวงหา การหยั่งรู้

จงนั่งตรงระเบียงบ้านเพื่อชื่นชมกับการมีชีวิตอยู่ โดยไม่ใส่ใจกับความ…..อยาก…

จงใช้เวลากับครอบครัว เพื่อนฝูงคนที่รักให้มากขึ้น…….

กินอาหารให้อร่อย ไปเที่ยวในที่ที่อยากจะไป

ชีวิตคือโซ่ห่วงของนาทีแห่งความสุขไม่ใช่เพียงแค่การอยู่ให้รอด

เอาแก้วเจียระไนที่มีอยู่มาใช้เสีย

น้ำหอมดี ๆ ที่ชอบ จงหยิบมาใช้เมื่ออยากจะใช้

เอาคำพูดที่ว่า…….สักวันหนึ่ง……..ออกไปเสียจากพจนานุกรม

บอกคนที่เรารักทุกคนว่าเรารักพวกเขาเหล่านั้นแค่ไหน

อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง ที่จะทำอะไรก็ตามที่ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น

ทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที มีความหมาย

เราไม่รู้เลยว่าเมื่อไรมันจะสิ้นสุดลง

และเวลานี้….

ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่มีเวลาที่จะ copy ข้อความนี้ไปให้คนที่คุณรักอ่าน…… แล้วคิดว่า….สักวันหนึ่ง………..ค่อยส่ง.. จงอย่าลืมคิดว่า….สักวันหนึ่ง…..วันนั้น คุณอาจไม่มีโอกาสมานั่งตรงนี้เพื่อทำอย่างที่คุณต้องการอีกก็ได้