welcome to my blog ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกค้ะ

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อันตรายของอาหารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหาร ส่งผลให้มีผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากเพราะบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรีย หรือสารเคมีอื่นๆที่ไม่สมควรมีเจือปนอยู่ในอาหาร เช่น

· ประเทศจีน เมื่อปลายปี 2008 พบการปนเปื้อนของสารเมลามีนในนมผงสำหรับเด็ก ส่งผลให้มีเด็กเสียชีวิตจำนวน 6 คนและเจ็บป่วยอีกราว 300,000 คน ซึ่งเป็นข่าวที่ทำให้ทั่วโลกเกิดความไม่มั่นใจในคุณภาพอาหารและผลิตภัณฑ์ที่มาจากประเทศจีนเพราะเชื่อว่ามีมาตรฐานต่ำ

· ประเทศสหรัฐฯ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีการตรวจพบเชื้อ Salmonella ในผลิตภัณฑ์เนยถั่ว (Peanut butter) เป็นต้นเหตุให้มีผู้ป่วยถึง 691 คนและเสียชีวิต 9 คน ทำให้ผู้ขายต้องเรียกสินค้าคืนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุการณ์ในทำนองเดียวกัน คือ การตรวจพบเชื้อ Salmonella ในถั่ว pistachio ทำให้ต้องเรียกคืนสินค้าเช่นกัน และหากย้อนไปในปี 2006 ก็มีการตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย E. Coli ในผักขม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 3 คนและเกิดความสูญเสียราว 100 ล้านเหรียญสหรัฐ

จากสถิติ WHO พบว่ามีประชากรเกือบ 30% ในแต่ละปีที่เป็นโรคที่เกิดจากอาหาร (food-borne disease) สำหรับสหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่กลับพบว่าในแต่ละปีมีชาวอเมริกันประมาณ 1 ใน 4 ที่เป็นโรคที่เกิดจากอาหารซึ่งสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ สถิติการระบาดของโรคที่เกิดจากอาหารในสหรัฐฯเนื่องจากการปนเปื้อนในอาหารพบว่าเพิ่มขึ้นจาก 100 ครั้ง/ปี ในช่วงปีค.ศ. 1990-99 เป็น 350 ครั้ง/ปีในปัจจุบัน ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมเหตุการณ์ความเสี่ยงในอาหารจึงเพิ่มขึ้น

- สาเหตุการระบาดของโรคที่เกิดจากอาหารเพิ่มขึ้น เนื่องจาก

1. ความเป็นอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น (Industrialisation) การผลิตอาหารแบบอุตสาหกรรมอย่างไม่หยุดยั้งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแพร่กระจายของโรคเพิ่มขึ้น เช่น เหตุการณ์แพร่ระบาดของโรควัวบ้า (BSE) ในยุโรป ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากผู้ผลิตเนื้อพยายามลดต้นทุนและเพิ่มปริมาณผลผลิต โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์นั้นมาจากสัตว์ที่ตายเพราะเป็นโรคหรือไม่[1] ส่งผลทำให้มีผู้ป่วยด้วยอาการสมองฝ่อจากการบริโภคเนื้อวัวที่ติดเชื้อโรควัวบ้า

2. การดูแลควบคุมที่ไม่ดีพอ (Poor Regulation) ทำให้การตรวจสอบการปนเปื้อนในอาหารไม่ทั่วถึงหรือมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ เช่น U.S. Department of Health and Human Services ตรวจสอบอาหาร 40 รายการ แต่มีเพียง 5 รายการเท่านั้นที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปได้ทุกขั้นตอนในห่วงโซ่อาหาร (food chain)

3. สภาพโลกาภิวัฒน์ของห่วงโซ่อาหาร (Globalisation of food chain) ปัจจุบันอาหารที่ผลิตในประเทศหนึ่ง อาจถูกส่งไปแปรรูปและบริโภคในประเทศอื่นๆต่อไป[2] ซึ่งหมายความว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยในอาหาร ผู้บริโภคในส่วนอื่นๆของโลกก็จะรับรู้และมีผลกระทบร่วมด้วย นอกจากนี้ การใช้วัตถุดิบจากหลายแหล่งทั่วโลกทำให้การจัดการ food supply chain มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะมาตรฐานของผู้ขาย (supplier) ในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป วัตถุดิบผลิตยิ่งมาจากหลายแหล่ง ยิ่งทำให้การควบคุมทำได้ยากขึ้น

4. การเมือง (Political) ที่ผ่านมารัฐบาลหลายประเทศไม่อยากกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยกับโรงงานผลิตอาหารมากเกินไป เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้การค้าหยุดชะงักและทำให้ต้นทุนสูงขึ้น จึงทำให้ยังคงพบปัญหาทางด้านความปลอดภัยในอาหาร

- การเปลี่ยนแปลงภายหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ บริษัทผู้ผลิตอาหาร หน่วยงานควบคุมตรวจสอบและผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป คือ รู้สึกตื่นกลัวและระมัดระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้มีภาคธุคกิจหันมาการปรับปรุงและเพิ่มระบบตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น[3] รวมทั้งให้ความไว้วางใจ supplier น้อยลงแต่หันมาใช้การตรวจสอบเพิ่มขึ้นแทน

1. ภาครัฐ ตระหนักถึงความอ่อนแอของห่วงโซ่อาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการระบาดของโรคในอาหารได้อย่างฉับพลันและแพร่ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการปนเปื้อนในอาหารโดยเจตนา เช่น การก่อการร้ายทางชีวภาพ (bio-terrorism) เป็นต้น

2. บริษัทผู้ผลิตอาหาร ภายหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้บริษัทมองเห็นจุดอ่อนในการปล่อยให้ third-party เป็นผู้ควบคุมตรวจสอบความปลอดภัยในอาหาร ดังนั้น บริษัทหลายแห่งที่เป็นผู้ผลิตอาหารระดับโลกจึงหันมาใช้หน่วยงานภายในแทนและปรับปรุงระบบตรวจสอบให้มีความเข้มงวดมากขึ้น ส่วนบางบริษัทเปลี่ยนมาใช้ระบบควบคุมคุณภาพใหม่ (quality control system) ทำให้จัดการปัญหารวดเร็วมากขึ้นและเป็นระดับนานาชาติ (global basis)[4] นอกจากนี้ การจัดหา supplier จะต้องผ่านการตรวจสอบมากขึ้นหรือมีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยญชาญด้านคุณภาพเข้าไปเพื่อควบคุม supplier โดยตรง

- ข้อสรุป มาตรฐานความปลอดภัยในอาหารจะดีขึ้นได้จะต้องอาศัยแรงกดดันจากฝ่ายผู้บริโภค ซึ่งจะทำให้บริษัทผู้ผลิตและรัฐบาลหันกลับมาพิจารณาระบบตรวจสอบควบคุมใหม่ให้เข้มงวดและเอาจริงเอาจังมากขึ้น ดังเช่น ภายหลังเหตุการณ์การปนเปื้อนสารเมลามีนในนมผงของประเทศจีน ทำให้ผู้บริโภคเรียกร้องให้ผู้ผลิตปรับปรุงมาตราฐานด้านคุณภาพให้ดีขึ้น ส่วนสื่อก็กล้าเปิดเผยในเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา ส่งผลให้รัฐบาลจีนต้องส่งทีมเข้าตรวจสอบสารเมลามีนในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดทั่วประเทศจีน และส่งเจ้าหน้าที่ประจำโรงงานเพื่อตรวจเช็คอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงเป็นเวลาหลายสัปดาห์

สำหรับบริษัทผลิตอาหารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง แม้จะไม่ได้เป็นต้นเหตุของการระบาดโรคที่เกิดจากอาหารแต่ก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเพิ่มมากขึ้นและพยายามรักษามาตรฐานที่ดีที่สุดของบริษัทเอาไว้ รวมทั้งพยายามหาทางแสดงให้ผู้บริโภคเห็นหลักฐานในการตรวจสอบคุณภาพที่ชัดเจน

ในเรื่องนี้ สำนักงานฯ ขอเรียนข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้

ก) มาตรฐานความปลอดภัยในอาหารสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ด้วยการเพิ่มระบบการตรวจสอบควบคุมให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยในอาหารที่เกิดขึ้นทั้งในสหรัฐฯและจีน เนื่องจากการควบคุมที่ไม่ดีเพียงพอ จึงทำให้มีโรงงานที่ผลิตอาหารไม่ปลอดภัยแต่นำออกมาวางขายในท้องตลาดได้ ส่งผลให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจำนวนมาก ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องหันมาพิจารณาระบบควบคุมความปลอดภัยในอาหารใหม่และเพิ่มการตรวจสอบให้มากขึ้น ซึ่งอาจต้องใช้เงินทุนเพิ่มขึ้นเพื่อทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอกับจำนวนโรงงานผลิตหรือแปรรูปอาหารที่ต้องเข้าทำการตรวจสอบได้[5]

ข) สภาพความเป็นโลกาภิวัฒน์ (globalisation) ของห่วงโซ่อาหารและการแข่งขันทางภาคธุรกิจที่สูงขึ้น ทำให้ในกระบวนการผลิตอาหารจะต้องเสาะหาแหล่งผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ในประเทศที่มีราคาวัตถุดิบถูกหรือต้นทุนการผลิตต่ำ ส่วนสินค้าอาหารที่ผลิตได้ก็ถูกจัดจำหน่ายไปหลายประเทศ ดังนั้น เมื่อมีอันตรายในอาหารเกิดขึ้นก็จะส่งผลกระทบไม่เพียงสินค้านั้นเพียงอย่างเดียวหรือในประเทศเดียว แต่ผู้บริโภคจะขาดความเชื่อมั่นกับสินค้าที่เกี่ยวข้องด้วยโดยรวม ฉะนั้น ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารจึงต้องเร่งเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งด้วยการเพิ่มระบบควบคุมคุณภาพและหาทางประกาศให้ผู้บริโภครับรู้ถึงมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งต้องระมัดระวังในเลือก supplier เพิ่มมากขึ้น

ค) ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงในปีนี้อาจส่งผลให้ผู้บริโภคมองหาทางเลือกใหม่ของการซื้อสินค้าด้วยการจับจ่ายสินค้าที่มีราคาถูกลง ส่วนผู้ขายปลีกก็พยายามแข่งขันกันลดราคา ในขณะที่ผู้ผลิตก็ต้องหาทางลดต้นทุนการผลิต ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องยิ่งสอดส่องดูแลเพิ่มขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าการแข่งขันทางด้านราคาจะไม่ทำให้มาตรฐานด้านความปลอดภัยลดลง

ง) แนวโน้มที่ผู้บริโภคทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในอาหารเพิ่มขึ้น อาจเป็นโอกาสที่ดีในการขยายช่องทางการตลาดของอาหารและสินค้าเกษตรใหม่ๆ เช่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผู้บริโภครับรู้ว่าเป็นสินค้าที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีและดีต่อสิ่งแวดล้อม หรือ สินค้าเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งจะช่วยให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (traceability) หากมีปัญหาเกิดขึ้นก็จะสามารถตรวจสอบหาต้นเหตุและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในอาหารกับผู้บริโภค เป็นต้น

จ) ปัจจุบันอาหารและสินค้าเกษตรของไทย (โดยเฉพาะผักสด) ที่ส่งเข้ามาจำหน่ายใน EU ยังถูกตรวจพบว่ามีปัญหาจากเชื้อ Salmonella, สารตกค้างประเภทต่างๆ หรือสิ่งเจือปนในอาหาร เป็นจำนวนหลายรายการทุกเดือน ซึ่งอาจทำให้ผู้นำเข้าและผู้บริโภคใน EU ขาดความเชื่อมั่นกับภาพลักษณ์ของอาหารและสินค้าเกษตรไทยโดยรวม ดังนั้น จึงต้องเร่งปรับปรุงระบบการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าที่ส่งออกให้เข้มงวดมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ควรส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงการผลิตให้มีมาตรฐานด้านคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น และหาทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้วยการผลิตสินค้ามีความปลอดภัยที่สามารถพิสูจน์ได้หรือผ่านการรับรองจากหน่วยงานระดับนานาชาติ



[1] ในประเทศอังกฤษเมื่อปี 1986 พบวัวเสียชีวิตจากโรควัวบ้า (BSE) จำนวน 168,000 ตัว เนื่องจากได้รับเนื้อและกระดูกป่นจากแพะที่ตายจากโรค scrapie-containing sheep ที่มีสาร prion ซึ่งเป็นโปรตีนตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดโรควัวบ้า

[2] บริษัทผลิตอาหารข้ามชาติขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ บางครั้งมีส่วนประกอบในอาหารราว 60% ที่มาจากหลายแหล่งทั่วโลก

[3] ปัจจุบันบริษัทที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นมทุกแห่งในจีนจะตรวจสอบหาสารเมลามีนที่อาจปนเปื้อนมาในผลิตภัณฑ์นม ในขณะที่อดีตไม่มีการตรวจสอบสารดังกล่าว

[4] เช่น หากมีเหตุการณ์ใดๆที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภันในอาหารเกิดขึ้นจะต้องรายงานให้ chief supply officer ทราบภายใน 24 ชั่วโมง ในขณะที่ในอดีตจะมีการจัดการกับปัญหาเฉพาะในระดับท้องถิ่นหรือภูมิภาคเท่านั้น

[5] หน่วยงาน FDA ทำหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัยในสินค้าอาหารและยาในประเทศสหรัฐฯ แต่ระหว่างปี 2006-2008 มีจำนวนเจ้าหน้าที่ลดลงราว 20% ทำให้มีกำลังไม่เพียงพอในการเข้าตรวจสอบหรือทำได้เพียง 5% จากจำนวนผู้ผลิตและแปรรูปทั้งหมด โดยเฉพาะอาหารนำเข้าซึ่งผ่านการตรวจสอบน้อยมากหรือเพียง 1% จากทั้งหมด ดังนั้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโอบามา จึงประกาศว่าจะปรับปรุงหน่วยงาน FDA เสียใหม่และให้เงินสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในความปลอดภัยของอาหารประเทศสหรัฐฯกลับคืนมา

อันตรายของอาหารเสริม

อาหารเสริม คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานเพื่อเสริมการรับประทานจากอาหารหลัก อยู่ในรูปของเม็ด เกล็ด ผง แคปซูล ที่ใช้รับประทานโดยตรงเสริมการรับประทานอาหารหลักตามปกติทุกวันของคนปกติ และเพื่อเป็นการปัองกันการเกิดโรคต่างๆ
ปัจจุบันนี้พบว่ามีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงร่างกายออกวางจำหน่ายมากมาย มีการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง เช่น ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักและเสริมความงาม เมื่อใช้แล้วจะเห็นผลภายใน 1 สัปดาห์ หรืออาหารเสริมบำรุงสมอง
การกินอาหารเสริม บางครั้งพบว่าทำให้เกิดโทษแก่ร่างกายและสูญเสียเงินโดยไม่จำเป็น ซึ่งมีรายงานการวิจัยพบว่า การรับประทานอาหารเสริมมากเกินไป อาจมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ เช่น วิงเวียน ปวดศรีษะ อุจจาระเป็นสีดำ ท้องผูก ท้องเสีย มีกลิ่นตัว และเหงื่อออกมาก

ตัวอย่างของผลข้างเคียงของอาหารเสริม
– อาหารเสริมประเภทซุปไก่สกัด มีคุณค่าเท่ากับไข่ไก่ฟองเดียว
– สาหร่ายสไปรูไลน่า จะมีปริมาณกรดนิวคลิกสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์
– รังนกที่ยังไม่เคยมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เลยว่ากิน แล้วผิวพรรณอ่อนกว่าวัย แต่มีผลข้างเคียงต่อผู้ที่เป็นลมชัก
– น้ำมันตับปลา ทำให้เกิดเลือดกำเดาไหลไม่หยุด อาจทำให้เกิดสภาวะขาดวิตามินอี และเสี่ยงต่อสารพิษด้วย
– ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน ซึ่งขณะนี้นักวิชาการพบว่ามีผลข้างเคียงต่อการเป็นมะเร็ง

ถ้าจำเป็นต้องทานอาหารเสริมและให้คุณค่าต่อสุขภาพอย่างแท้จริง ควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนบริโภค ควรเลือกให้เหมาะสมกับอายุและสภาพร่างกาย

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

MANGO


Forms: The mango exists in two races, one from India and the other from the Philippines and Southeast Asia. The Indian race is intolerant of humidity, has flushes of bright red new growth that are subject to mildew, and bears monoembryonic fruit of high color and regular form. The Philippine race tolerates excess moisture, has pale green or red new growth and resists mildew. Its polyembryonic fruit is pale green and elongated kidney-shaped. Philippines types from Mexico have proven to be the hardiest mangos in California.
Adaptation: Mangos basically require a frost-free climate. Flowers and small fruit can be killed if temperatures drop below 40° F, even for a short period. Young trees may be seriously damaged if the temperature drops below 30° F, but mature trees may withstand very short periods of temperatures as low as 25° F. The mango must have warm, dry weather to set fruit. In southern California the best locations are in the foothills, away from immediate marine influence. It is worth a trial in the warmest cove locations in the California Central Valley, but is more speculative in the coastal counties north of Santa Barbara, where only the most cold adapted varieties are likely to succeed. Mangos luxuriate in summer heat and resent cool summer fog. Wet, humid weather favors anthracnose and poor fruit set. Dwarf cultivars are suitable for culture in large containers or in a greenhouse.
Flowers: The yellowish or reddish flowers are borne in inflorescences which appear at branch terminals, in dense panicles of up to 2000 minute flowers. These flowers respire a volatile substance, causing allergic and respiratory problems for some persons. Pollinators are flies,
hoverflies, rarely bees. Few of the flowers in each inflorescence are perfect, so most do not produce pollen and are incapable of producing fruit. Pollen cannot be shed in high humidity or rain. Fertilization is also ineffective when night temperatures are below 55° F. Mangos are monoecious and self-fertile, so a single tree will produce fruit without cross pollination. Polyembryonic types may not require pollination at all. Branches may be ringed to induce flowering, but the results are mixed.
Fruits: The fruits grow at the end of a long, stringlike stem (the former panicle), with sometimes two or more fruits to a stem. The fruits are 2 to 9 inches long and may be kidney shaped, ovate or (rarely) round. They range in size from 8 ounces to around 24 ounces. The flower scar at the apex is prominent, in some cultivars bulging from the fruit. The leathery skin is waxy and smooth, and when ripe entirely pale green or yellow marked with red, according to cultivar. It is inedible and contains a sap that is irritating to some people. The quality of the fruit is based on the scarcity of fiber and minimal turpentine taste.
The flesh of a mango is peachlike and juicy, with more or less numerous fibers radiating from the husk of the single large kidney-shaped seed. Fibers are more pronounced in fruits grown with hard water and chemical fertilizers. The flavor is pleasant and rich and high in sugars and acid. The seed may either have a single embryo, producing one seedling, or polyembryonic, producing several seedlings that are identical but not always true to the parent type. It is impossible to distinguish true-to-type from zygotic seedlings from the same fruit. Some seedlings produce numerous tiny, parthenocarpic fruits which fail to develop and abort. Mango trees tend to be alternate bearing

มาดื่มกาแฟกันบ้างดีกว่า

มาดื่มกาแฟกันบ้างดีกว่า
1. ป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ B มีผู้วิจัยพิสูจน์แล้วว่า กาแฟมีประโยชน์ในการป้องกัน โรคดังกล่าว
2. ป้องกันโรคหอบ โรคนี้ คือ อาการ ภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง โดยทั่วไปเมื่อมีประสาทสำรองไม่ถูกกระตุ้น จะไม่มีอาการหอบเกิดขึ้นง่ายๆ แต่ถ้าหากประสาทสัมผัสสำรองถูกกระตุ้น จะเกิดอาการหอบทันที และคาเฟอีนในกาแฟจะระงับการตึงเครียดของประสาทสัมผัสสำรอง ลดการเกิดโรคหอบ
3. ลดการเกิดโรคตับจากสุรา ตามที่นักวิชาการสำรวจแล้วพบว่า กาแฟช่วยลดผลร้ายที่จะมีต่อตับ แต่ยังต้องวิจัยต่อไปว่า สารใดที่มีประโยชน์ดังกล่าว และมีผลต่อสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งหรือไม่ นอกจากแอลกอฮอล์
4. ป้องกันมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งในช่องปาก จากผลการทดลองจริง พบว่ากาแฟมีประสิทธิภาพป้องกันโรคขั้นต้น โดยเฉพาะในคาเฟอีนมีกรดอะซิติก ที่ช่วยป้องกันโรค
5. ขับไล่ความชรา ออกซิเจนเป็นสารที่ร่างกายต้องการมากก็จริง แต่ถ้ามีออกซิเจนมากไป ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงและแก่เร็ว โดยเฉพาะกาแฟที่เข้มข้น จะทำให้ออกไซด์แตกตัว ลดการเกิดมะเร็งได้ กระตุ้นการเผาผลาญอาหารในร่างกาย
6. กาแฟลดอัตราคอเลส-เตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ในกาแฟมีนิโคติน แต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกับในบุหรี่ แต่เป็นวิตามิน B รวมชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายต้องการ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด จึงป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือดแข็งตัว
7. ละลายไขมัน กาแฟที่ทานหลังอิ่มอาหาร ช่วยให้ไขมันแตกตัว และให้พลังงานทดแทนจึงลดความอ้วนได้
8. กาแฟเพิ่มไขมันชนิดดีให้ร่างกาย ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ตามผลการวิจัยพบว่า คนที่ดื่มกาแฟบ่อยๆ จะมีไขมันชนิด (HDL) เพิ่มขึ้น ซึ่งไขมันชนิดนี้จะขับไล่คอเลสเตอรอลออกไป ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว
9. แก้ปวดศีรษะ กาแฟมีส่วนผสมของคาเฟอีนที่ขยายหลอดเลือด ระงับอาการปวดได้เช่นเดียวกับยาแก้ปวด และยังช่วยขับปัสสาวะ ละลายไขมันในเส้นเลือด และช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ เนื่องจากเมาสุราได้
10. เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมองและสมรรถภาพสมอง มีผู้เชี่ยวชาญสรุปผลการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาว่า ความหอมของกาแฟช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้เร็วขึ้น และมีสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น นั้นเป็นเพราะกลิ่นกาแฟ ทำให้เลือดไหลเวียนในสมองเพิ่มขึ้น
11. ดื่มกาแฟเล็กน้อยทำให้น้ำย่อยในกระเพาะหลั่งดีขึ้น ไขมันแตกตัว หากได้ดื่ม กาแฟเล็กน้อยหลังทานอาหารเสร็จ คาเฟอีน ในกาแฟจะมีประโยชน์ต่อกระเพาะโดยตรง น้ำย่อยที่กระเพาะและตับอ่อนเพิ่มขึ้น ไขมันถูกเผาผลาญ

ภาษารัก

Je vous aime beaucou.(เฌอ วู แซม โบกู) - ฉันรักคุณมากนะ
Je t'aime - ฉันรักเธอ
Je pense beaucoup a toi (เฌอ ปองส์ โบกู อา ตัว) - ฉันคิดถึงเธอมากนะ สามารถใช้ได้กะทุกคนนะ
Je t'aime a l'infini (เฌอ แตม อา แลงฟีนี)- ฉันรักเธอตลอดกาลหรือรักเธอชั่วนิรันด์



เสาวรสหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า กระทกรกฝรั่ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Passion Fruit เป็นไม้ผลที่อยู่ในตระกูล Passifloraceae เสาวรสมี 2 ชนิดคือชนิดผลสีม่วง ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passifloraedulis และผลสีเหลืองที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า P. edulis F. flavicarpa
โดยทั่วไปแล้วเสาวรสเป็นผลไม้อุตสาหกรรมคือปลูกเพื่อนำผลผลิตไปแปรรูปเป็นน้ำผลไม้เนื่องจากในผลมีน้ำมาก รสเปรี้ยวและมีกลิ่นหอมแต่ก็สามารถรับประทานผลสดได้ โดยเฉพาะบางพันธุ์ที่ผลมีรสชาติค่อนข้างหวาน สำหรับในประเทศไทยนั้นได้นำเสาวรสเข้ามาปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 โดยเป็นพันธุ์สีม่วง ต่อมาได้มีผู้นำเข้ามาปลูกอีกในอีกหลายพื้นที่ทั้งพันธุ์ผลสีม่วงและผลสีเหลือง จนกระทั่งได้มีการปลูกเป็นการค้ากันทั่วไปแต่ก็ปลูกเพื่อส่งโรงงานแปรรูปเท่านั้น โดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ ระยอง ตราด ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี ชุมพร นราธิวาสและสุราษฎร์ธานี เป็นต้น ส่วนผลผลิตที่จำหน่ายเพื่อบริโภคสดนั้นไม่ใช่พันธุ์สำหรับรับประทานผลสดโดยตรง แต่เป็นการคัดเอาผลผลิตเสาวรสพันธุ์สำหรับแปรรูปบางพันธุ์ที่มีรสชาติค่อนข้างดี เช่น พันธุ์ผลสีม่วงมาจำหน่ายเป็นเสาวรสรับประทานสดแทน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เสาวรสที่ถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของฟื้นที่สูงในอเมริกาได้เป็นไม้ประเภทเลื้อยมีอายุหลายปีลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ แต่เสาวรสบางพันธุ์คือพันธุ์ผลสีเหลืองส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้ามต้น ดอกเสาวรสจะเกิดที่ข้อบริเวณโคนก้านใบของเถาใหม่พร้อมกับการเจริญของเถา โดยต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะออกดอกติดผลเมื่อต้นมีอายุประมาณ 4-5 เดือน หลังปลูกลงแปลง แต่ถ้าเป็นต้นที่เสียบยอดหรือปักชำจะสามารถออกดอกติดผลได้เร็วขึ้น
ผลเสาวรสเป็นผลเดียว สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 50-70 วันหลังติดผล มีหลายลักษณะ เช่น กลม รูปไข่ หรือผลรียาวขึ้นอยู่กับพันธุ์ เปลือกผลและเนื้อส่วนนอกแข็งไม่สามารถรับประทานได้ผลมี 2 สีคือผลสีม่วงและผลสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้มหรือดำเป็นจำนวนมากแต่ละเมล็ดจะถูกหุ้มด้วยรกซึ่งบรรจุน้ำสีเหลืองมีลักษณะเหนียวข้นอยู่ภายใน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีความเป็นกรดสูง และส่วนที่นำไปใช้บริโภคก็คือส่วนที่เป็นน้ำสีเหลืองนี้เอง
การปลูกเสาวรสรับประทานสด
เสาวรสรับประทานสดมีวิธีการปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษาเช่นเดียวกับเสาวรสโรงงาน แต่ต้องเพิ่มความประณีตในการปฏิบัติดูแลรักษาบางอย่าง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ปกติแล้วเสาวรสเป็นพืชที่มีอายุยาวนานหลายปี แต่โดยทั่วไปแล้วมีการปลูกกัน 2 ระบบ คือ การปลูกแบบเก็บเกี่ยว 1 ฤดูกาลต่อการปลูก 1 ครั้ง และเก็บเกี่ยว 2-3 ฤดูกาลต่อการปลูก 1 ครั้ง แต่ระบบที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ในปัจจุบันคือแบบปลูก 1 ครั้ง เก็บเกี่ยว 2-3 ฤดูกาล เนื่องจากเป็นการลดต้นทุนคือลงทุนทำค้าง 1 ครั้งสามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานขึ้น