welcome to my blog ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกค้ะ

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

วันในเทศกาลสงกรานต์

ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก"

การคำนวณวันเถลิงศกนั้น ตามคัมภีร์สุริยยาตร์[2] จะต้องมีการหาหรคุณเถลิงศก (และค่าอื่น ๆ สำหรับคำนวณตำแหน่งดาวในปีนั้น ๆ เรียกว่าอัตตาเถลิงศก) ทุก ๆ ปี ซึ่งค่าที่ได้จะเป็นตัวเลขนับ 1 ที่วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 (วันเถลิงศก จ.ศ. 0 ตามปฏิทินเกรกอเรียน) ซึ่งเป็นวันเถลิงศกในปีนั้นมาเรื่อย ๆ จนถึงวันเถลิงศกของปีที่ต้องการ โดยมีวิธีการคือ

  • ตั้งเกณฑ์ 292207 (เวลาเป็นกัมมัชในหนึ่งปี โดยที่ 1 กัมมัช = 108 วินาที และ 800 กัมมัช = 1 วัน) ลง เอาจุลศักราชปีนั้นคูณ ได้เท่าใด เอา 373 บวก แล้วเอา 800 หาร ลัพธ์เอา 1 บวก เป็นหรคุณเถลิงศก
  • เอา 800 ตั้ง เอาเศษจากข้อก่อนมาลบ ได้ กัมมัชพลเถลิงศก (หมายถึงเวลาที่เหลือจนกระทั่งสิ้นวันเถลิงศก หน่วยเป็นกัมมัช)

เนื่องจากวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 เวลา 00:00 น. มีหรคุณจูเลียนเป็๋น 1954167.5 เพื่อความง่ายจึงสามารถหาหรคุณจูเลียน(Julian day number) ของวันเถลิงศกได้ตามสูตร

JD วันเถลิงศก = [(292207* (พ.ศ.-1181) +373)/800] + 1954167.5

สำหรับวันมหาสงกรานต์ สามารถประมาณได้จากหรคุณเถลิงศก โดยให้ถอยหรคุณเถลิงศกไป 2 วัน 3 ชั่วโมง 57 นาที 36 วินาที (2.165 วัน หรือ 1732 กัมมัช) หรืออาจจะคำนวณตำแหน่งที่สังเกตได้จริง (สมผุส) ของดวงอาทิตย์ว่ายกเข้าสู่ราศีเมษ ณ วันเวลาใด ทำให้ได้สูตรหาหรคุณจูเลียนของวันมหาสงกรานต์ (โดยประมาณ) เป็น

JD วันมหาสงกรานต์ = [(292207* (พ.ศ.-1181) - 1359)/800] + 1954167.5

จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) ซึ่งบางปีก็อาจจะตรงกับวันใดวันหนึ่ง

[แก้]

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

Whale


Whale (origin Old English hwæl) is the common name for various marine mammals of the order Cetacea. The term whale sometimes refers to all cetaceans, but more often it excludes dolphins and porpoises, which belong to suborder Odontoceti (toothed whales). This suborder also includes the sperm whale, killer whale, pilot whale, and beluga whale. The other Cetacean suborder Mysticeti (baleen whales) are filter feeders that eat small organisms caught by straining seawater through a comblike structure found in the mouth called baleen. This suborder includes the blue whale, the humpback whale, the bowhead whale and the minke whale. All Cetacea have forelimbs modified as fins, a tail with horizontal flukes, and nasal openings (blowholes) on top of the head.

Whales range in size from the blue whale, the largest animal known ever to have existed at 30 m (98 ft) and 180 tonnes (180 long tons; 200 short tons), to various pygmy species, such as the pygmy sperm whale at 3.5 m (11 ft).
Whales collectively inhabit all the world's oceans and number in the millions, with annual population growth rate estimates for various species ranging from 3% to 13%. For centuries, whales have been hunted for meat and as a source of raw materials. By the middle of the 20th century, however, industrial whaling had left many species seriously endangered, leading to the end of whaling in all but a few countries.