มหาวิทยาลัย
ถือเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาคนให้กลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา
ประเทศ มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุด 5 อันดับแรก ที่อยู่คู่ประเทศไทย
และสร้างบุคคลากรชั้นยอดให้กับสายงานต่างๆมาอย่างยาวนานมีที่ใดบ้าง
เริ่มจากอันดับ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระ
บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สถาปนา
โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขึ้นเป็น " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 เป็น
มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยเริ่มแรกมีการจัดตั้ง 4 คณะ ได้แก่
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
และคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)
สำหรับอันดับที่ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์
ดร.ปรีดี พนมยงค์ ริเริ่มก่อตั้ง "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
(มธก.)" ขึ้น เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477
เป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของประเทศไทย โดยเปิดวิชาที่สอนเริ่มแรก 2
หลักสูตรคือ หลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิต ซึ่งสอนวิชากฎหมายเป็นหลัก และ
วิชาการบัญชี ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น " มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมือง
และความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย
ส่วนมหาวิทยาลัยที่มีความเก่าแก่เป็นอันดับ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เริ่มต้นจาก โรงเรียนช่างไหม
ได้รับการพัฒนาการเรียนการสอนจนสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ "
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านการเกษตรแห่งแรกของไทย
โดยมีคณะเกษตรศาสตร์ คณะการประมง คณะวนศาสตร์ และคณะสหกรณ์
ในการตั้งครั้งแรก ซึ่งในปัจจุบันคือ คณะเกษตร คณะประมง คณะวนศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ และ คณะเศรษฐศาสตร์ และมีอีกหลากหลายคณะเพิ่มขึ้นตามมา
อันดับที่ 4 ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล
มีการแยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์
และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็น
"มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานนาม มหิดล เป็นชื่อมหาวิทยาลัยใหม่ ว่า " มหาวิทยาลัยมหิดล "
ปิดท้ายด้วยอันดับที่ 5 มหาวิทยาลัยศิลปากร
จาก โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม ในรัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น
โรงเรียนศิลปากรจากนั้น พระยาอนุมานราชธนร่วมกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12
ตุลาคม พ.ศ. 2486 เพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงทางศิลปะของชาติ
โดยมีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม เป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรม
ประติมากรรม และภาพพิมพ์)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น