welcome to my blog ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกค้ะ

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ที่มาของหมากฝรั่ง



       หมากฝรั่งเกิดจากยางสีขาวขุ่นของต้นไมในตระกูลละมุด (ผลละมุด) นั่นแหล่ะ บางทีเรียกว่า "ซิเคิล" (chicle) ที่ชาวมายันแห่งประเทศเม๊กซิโกนำมาเคี้ยวบริหารฟันบริหารกรามมาแต่โบราณ เป็นหลายศตวรรษย้อนหลัง ในปี ค.ศ.1845 นายชาร์ลส์ อดัมส์ (Charles Adams) เป็นนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันได้ยางชิเคิลมา เขาสนใจยางนี้มาก แต่ไม่ใช่เพื่อเคี้ยว หากแต่นำมาทำยางหนังสติ๊ก หน้ากาก รองเท้าบู๊ท หากทว่าสิ่งประดิษฐ์เหล่านั้นไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งวันหนึ่ง เขาเอายางชิเคิลมาเคี้ยวเล่นตามแบบฉบับดั้งเดิมเขาเกิดความคิดใหม่ขึ้นมา ทันที เขาสามารถผสมรสชาติลงในยางชิเคิลได้ ไม่นานหลังการทดลองครั้งยิ่งใหญ่ครั้งนี้ เขาก็เปิดโรงงานผลิตหมากฝรั่งแห่งแรกของโลก

       ต่อมา ค.ศ.1869 นายวิลเลียม เอม เซมเพิล (William F. Semple) ทันตแพทย์จากรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำหมากฝรั่งอันนี้มาพัฒนาต่อ เพื่อสนับสนุนให้คนเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อบริหารกรามรักษาสุขภาพฟัน โดยเขาใส่ส่วนผสมที่ช่วยในการขัดฟัน ประเภทยาง ชอล์ก ถ่าน และผงรากลิโคริช (licorice) แล้วจดทะเบียนสิทธิบัตรตั้งแต่นั้นมา

      หมากฝรั่งดีต่อเหงือก ดีต่อฟัน แต่ไม่ดีกับสิ่งแวดล้อมฉะนั้นเมื่อเคี้ยวแล้ว จะทิ้งขอให้ทิ้งเป็นที่เป็นทาง เพื่อไม่ให้ไปติดเปื้อนผู้อื่น เพราะซักไม่ออก ดึงไม่หลุด เกิดความเสียหาย

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

5 อันดับมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ

มหาวิทยาลัย ถือเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาคนให้กลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา ประเทศ  มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุด 5 อันดับแรก ที่อยู่คู่ประเทศไทย และสร้างบุคคลากรชั้นยอดให้กับสายงานต่างๆมาอย่างยาวนานมีที่ใดบ้าง

เริ่มจากอันดับ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สถาปนา โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 เป็น มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยเริ่มแรกมีการจัดตั้ง 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)

สำหรับอันดับที่ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ริเริ่มก่อตั้ง "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.)" ขึ้น เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของประเทศไทย โดยเปิดวิชาที่สอนเริ่มแรก 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิต ซึ่งสอนวิชากฎหมายเป็นหลัก และ วิชาการบัญชี ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น " มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมือง และความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย

ส่วนมหาวิทยาลัยที่มีความเก่าแก่เป็นอันดับ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มต้นจาก โรงเรียนช่างไหม ได้รับการพัฒนาการเรียนการสอนจนสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ " เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านการเกษตรแห่งแรกของไทย โดยมีคณะเกษตรศาสตร์ คณะการประมง คณะวนศาสตร์ และคณะสหกรณ์ ในการตั้งครั้งแรก ซึ่งในปัจจุบันคือ คณะเกษตร คณะประมง คณะวนศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และ คณะเศรษฐศาสตร์ และมีอีกหลากหลายคณะเพิ่มขึ้นตามมา

อันดับที่ 4 ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการแยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็น "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม มหิดล เป็นชื่อมหาวิทยาลัยใหม่ ว่า " มหาวิทยาลัยมหิดล "

ปิดท้ายด้วยอันดับที่ 5 มหาวิทยาลัยศิลปากร จาก โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น โรงเรียนศิลปากรจากนั้น พระยาอนุมานราชธนร่วมกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 เพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงทางศิลปะของชาติ โดยมีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม เป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์)

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ภาษาอังกฤษ ที่มักจะใช้ผิดกันบ่อยๆ




1. Who กับคำว่า Whom

มาดูคำแรกกันครับ คำว่า Who จะใช้กล่าวถึง "ประธาน" ในประโยคครับ
ตัวอย่างเช่น Buksohn, who loves to write about photoshop tutorial, is so handsome.
คำแปล  บักสน คนที่ชอบเขียนเกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานโปรแกรมโฟโต้ฉ้อบหนะ โคตรหล่อเลยละเธอ!! (อ้วกกก)
 ส่วนคำว่า Whom จะใช้กล่าวถึง "กรรม" ในประโยคครับ  กรรม ก็คือผู้ถูกกระทำนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น This is Buksohn, whom I kicked in the last party.
คำแปล  นี่คือบักสน คนที่ถูกฉันเตะกระเด็นในงานเลี้ยงเมื่อครั้งก่อน. (โผมปายทำอะไรให้คุณไม่ทราบ ฮ่าๆๆ)
 
2. Its กับคำว่า It's
สองคำนี้ ผมเองก็มักจะใช้ผิดบ่อยๆเหมือนกันแต่ต่อจากนี้ จะพยายามใช้ให้ผิดน้อยที่สุดครับ
คำว่า Its ใช้สำหรับแสดงความเป็น "เจ้าของ"
ตัวอย่างประโยค My dog is cleaning its tail.
คำแปล หมาของชั้นกำลังทำความสะอาดหางตัวเองอยู่

ส่วนคำว่า It's  ย่อมาจาก It is ครับ วิธีใช้ก็ลองดูจากตัวอย่างประโยคนะครับ
ตัวอย่างประโยค It's so borring to have someone  complaining about my grade.
คำแปล  มันน่าเบื่อชะมัด เวลาที่มีใครมาบ่นเกี่ยวกับเกรดของตรู

3. Practice กับคำว่า Practise
คำนี้ต่างกันที่ชนิดของคำครับ Practice เป็นคำนาม ส่วน Practise คือคำ กริยา
สองคำนี้เขียนเกือบเหมือนกันมากๆเลย ต่างกันแค่ตัว c กับตัว s ที่อยู่ก่อนตัว e ตัวสุดท้ายแค่นั้นเอง
ตัวอย่างประโยค I practise drawing everyday.
คำแปล  ข้อยฝึกวาดรูปอยู่ทุกวัน

ตัวอย่างประโยค  My drawing practice is on every sunday.
คำแปล  การฝึกฝนวาดรูปของข้าน้อยคือทุกๆวันอาทิตย์

4. Bought กับคำว่า Brought
อีกแร่ะ คำนี้แทบจะไม่แตกต่างกันเลย ยกเว้นคำที่สองมีตัว r มาแทรก
คำว่า Bought เป็นคำกริยาของคำว่า Buy ส่วนคำว่า Brought เป็นคำกริยาของคำว่า Bring คับผม

5.  But กับคำว่า Although/Though
สำหรับคำนี้ สิ่งที่เจอมากๆๆ นั่นก็คือการใช้คำว่า But และคำว่า Although หรือ Though พร้อมๆกันคับ
คือจริงๆแล้ว เราจะไม่ใช้คำว่า But ในประโยคเดียวกับคำว่า Although/though นะครับ
เพราะคำว่า Although/though มันก็มีความหมายในเชิงปฎิเสธอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า But
มาแทรกเพิ่มเติมแต่อย่างใด

ตัวอย่างประโยค Although you do your best, you never get any attention from her.
คำแปล  แม้ว่านายจะทำทุกอย่างเต็มที่แล้ว แต่หล่อนก็ไม่สนใจนายเลยสักนิดเดียว
ตัวอย่างประโยค You do your best but you never get any attention from her.
คำแปล  นายทำทุกอย่างเต็มที่แล้วนี่ แต่ก็ไม่เห็นหล่อนจะสนใจนายตรงไหน

สรุปคือ But ไม่ใช้ควบคู่กับ Although/though นะครับ

6. In time กับคำว่า On time
สองคำนี้มีความหมายที่ต่างกันนิดเดียวครับ นั่นก็คือ คำว่า In time จะเป็นทำนองว่ามีเวลาเพียงพอสำหรับอะไรสักอย่าง  เช่น
ตัวอย่างประโยค  He was saved because he was brought  to the hospital in time.
คำแปล เขารอดก็เพราะว่าถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลทันเวลา
ส่วนคำว่า On time คือจะตรงเวลาค่อนข้างเป๊ะๆ เช่น นัดเจอกัน 10.00 ก็มาสัก 10.59 น. เป็นต้น ฮ่าๆ
ตัวอย่างประโยค  This meeting has to start on time!!
คำแปล  การประชุมครั้งนี้จะเริ่มตรงเวลาเป๊ะนะเฟ้ย!!

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ราชบัณฑิตหารือแก้คำไทย 176 คำ

คำศัพท์ที่อยู่ในแบบสำรวจ เพื่อขอความเห็นในการเปลี่ยนแปลงการเขียนใหม่ มีดังนี้

1.คำที่ใส่เครื่องหมายไม้ไต่คู้เพื่อแสดงสระเสียงสั้น ได้แก่
ซีเมนต์ - ซีเม็นต์
เซต-เซ็ต
เซนติกรัม-เซ็นติกรัม
เซนติเกรด-เซ็นติเกรด
เซนติลิตร-เซ็นติลิตร
ไดเรกตริกซ์-ไดเร็กตริก
เทนนิส-เท็นนิส
นอต-น็อต
นิวตรอน-นิวตร็อน
เนตบอล-เน็ตบอล
เนปจูน-เน็ปจูน
เบนซิน-เบ็นซิน
แบคทีเรีย-แบ็คทีเรีย
มะฮอกกานี-มะฮ็อกกานี
เมตริก-เม็ตตริก
เมตริกตัน- เม็ตริกตัน
แมงกานิน-แม็งกานิน
อิเล็กตรอน-อิเล็กตร็อน
เฮกโตกรัม-เฮ็กโตกรัม
เฮกโตลิตร-เฮ็กโตลิตร


2.คำที่เปลี่ยนตัวพยัญชนะเป็นอักษรสูง ได้แก่
คอร์ด-ขอร์ด
แคโทด-แคโถด
ซัลเฟต-ซัลเฝต
ไทเทรต-ไทเถรต
ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ
พาร์เซก-พาร์เส็ก
แฟลต-แฝล็ต
สเปกโทรสโกป-สเป็กโทรสโขป
ไอโซโทป-ไอโซโถป


3.คำที่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์เอก ได้แก่
กอริลลา-กอริลล่า
แกโดลิเนียม-แกโดลิเนี่ยม
แกมมา-แกมม่า
แกลเลียม-แกลเลี่ยม
คูเรียม-คูเรี่ยม
แคดเมียม-แคดเมี่ยม
แคลเซียม-แคลเซี่ยม
แคลอรี-แคลอรี่
โครเมียม-โครเมี่ยม
ซิงโคนา-ซิงโคน่า
ซิลิคอน-ซิลิค่อน
ซีเซียม-ซีเซี่ยม
ซีนอน-ซีน่อน
ซีเรียม-ซีเรี่ยม
โซลา-โซล่า
ดอลลาร์-ดอลล่าร์
เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่
แทนทาลัม-แทนทาลั่ม
ไทเทเนียม-ไทเทเนี่ยม
เนบิวลา-เนบิวล่า
ไนลอน-ไนล่อน
แบเรียม-แบเรี่ยม
ปริซึม-ปริซึ่ม
ปิโตรเลียม-ปิโตรเลี่ยม
แพลทินัม-แพลทินั่ม
ฟังก์ชัน-ฟังก์ชั่น
ฟาทอม-ฟาท่อม
ไมครอน-ไมคร่อน
ยิปซัม-ยิปซั่ม
ยูเรเนียม-ยูเรเนี่ยม
เลเซอร์-เลเซ่อร์
วอลเลย์บอล-วอลเล่ย์บอล
อะลูมิเนียม-อะลูมิเนี่ยม
อีเทอร์-อีเท่อร์
เอเคอร์-เอเค่อร์
แอลฟา-แอลฟ่า
ฮาห์เนียม-ฮาห์เนี่ยม
ฮีเลียม-ฮีเลี่ยม


4.คำที่ใส่ ห นำเพื่อแสดงเสียงวรรณยุกต์เอก ได้แก่
กะรัต-กะหรัต
แกรนิต-แกรหนิต
คลินิก-คลิหนิก
คาทอลิก-คาทอหลิก
คาร์บอเนต-คาร์บอเหนต
คาร์บอลิก-คาร์บอหลิก
โคออร์ดิเนต-โคออร์ดิเหนต
รูเล็ตต์- รูเหล็ตต์


5.คำที่เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์โท ได้แก่
กลูโคส-กลูโค้ส
กิโลไซเกิล-กิโลไซเกิ้ล
กิโลเมตร-กิโลเม้ตร
กิโลเฮิรตซ์-กิโลเฮิ้รตซ์
กีตาร์-กีต้าร์
แกรไฟต์-แกรไฟ้ต์
คาร์บอน-คาร์บ้อน
คาร์บูเรเตอร์-คาร์บูเรเต้อร์
เคเบิล-เคเบิ้ล
โควตา-โควต้า
ชอล์ก-ช้อล์ก
ซอส-ซ้อส
โซเดียม-โซเดี้ยม
ไดนาไมต์-ไดนาไม้ต์
แทนเจนต์-แทนเจ้นต์
แทรกเตอร์-แทรกเต้อร์
นิกเกิล-นิกเกิ้ล
ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ
ไนโตรเจน-ไนโตรเจ้น
บารอมิเตอร์-บารอมิเต้อร์
บีตา-บีต้า
ปาทังกา-ปาทังก้า
ปาร์เกต์-ปาร์เก้ต์
พลาสติก-พล้าสติก
ฟาสซิสต์- ฟ้าสซิสต์
มอเตอร์-มอเต้อร์
เมตร-เม้ตร
ไมกา-ไมก้า
ยีราฟ-ยีร้าฟ
เรดอน-เรด้อน
เรดาร์-เรด้าร์
เรเดียม-เรเดี้ยม
ลิกไนต์- ลิกไน้ต์
แวนดา-แวนด้า
อาร์กอน-อาร์ก้อน
แอนติบอดี-แอนติบอดี้
เฮิรตซ์-เฮิ้รตซ์
ไฮดรา-ไฮดร้า
ไฮโดรเจน-ไฮโดรเจ้น


6.คำที่เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์ตรี ได้แก่
กราฟ-กร๊าฟ
กอซ-ก๊อซ
กอล์ฟ-ก๊อล์ฟ
เกาต์-เก๊าต์
ออกไซด์-อ๊อกไซด์
โคบอลต์- โคบ๊อลต์
ดราฟต์-ดร๊าฟต์
ดัตช์-ดั๊ตช์
ดิสโพรเซียม-ดิ๊สโพรเซี่ยม
เดกซ์โทรส-เด๊กโทรัส
เต็นท์-เต๊นท์
บาสเกตบอล-บ๊าสเก้ตบอล
บิสมัท-บิ๊สมั้ท
แบงก์-แบ๊งก์
โบต-โบ๊ต
ปลาสเตอร์-ปล๊าสเต้อร์
ปิกนิก-ปิ๊กหนิก
ออกซิเจน-อ๊อกซิเย่น
ออกซิเดชัน-อ๊อกซิเดชั่น
ออกไซด์-อ๊อกไซด์
อาร์ต-อ๊าร์ต
เอกซเรย์-เอ๊กซเรย์
แอสไพริน-แอ๊สไพริน
แอสฟัลต์-แอ๊สฟัลต์
โอ๊ด-โอ๊ต


7.คำที่มีหลายพยางค์ ได้แก่
คอนเดนเซอร์-ค็อนเด็นเซ่อร์
คอนแวนต์-ค็อนแว็นต์
คอนเสิร์ต-ค็อนเสิร์ต
คอมพิวเตอร์-ค็อมพิ้วเต้อร์
คอมมานโด-ค็อมมานโด
คอมมิวนิสต์-ค็อมมิวนิสต์
คูปอง- คูป็อง
เครดิตฟองซิเอร์-เครดิตฟ็องซิเอร์
แคดเมียม-แค็ดเมี่ยม
แคปซูล-แค็ปซูล
แคลเซียมไซคลาเมต-แคลเซี่ยมไซคลาเมต
ช็อกโกเลต/ ช็อกโกแลต-ช็อกโกแล็ต
เซนติเมตร-เซ็นติเม้ตร
โซเดียมคาร์บอเนต-โซเดี้ยมคาร์บอเหนต
โซเดียมไซคลาเมต-โซเดี้ยมไซคลาเหมต
โซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต-โซเดี้ยมไฮโดรเจ้นกลูตาเหมต
โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต-โซเดี้ยมไฮโดรเจ้นคาร์บอเหนต
ดีเปรสชัน-ดีเปร๊สชั่น
เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่
แทรกเตอร์-แทร็กเต้อร์
แบดมินตัน-แบ็ดมินตั้น
แบตเตอรี่-แบ็ตเตอรี่
พลาสมา-พล้าสม่า
โพแทสเซียม-โพแท้สเซี่ยม
เมนทอล-เม็นท่อล
แมงกานีส-แม็งกานี้ส
แมกนีเซียม-แม็กนีเซี่ยม
รีดักชัน-รีดั๊กชั่น
ลอการิทึม-ล็อกการิทึ่ม
สเปกตรัม-สเป๊กตรั้ม
สเปกโทรสโกป-สเป็กโตรสโขป
ออกซิเดชัน-อ๊อกซิเดชั่น
อัลตราไวโอเลต-อัลตร้าไวโอเหล็ต
แอกทิเนียม-แอ๊กทิเนี่ยม
แอนติอิเล็กตรอน-แอ็นติอิเล็กตร็อน
เฮกตาร์-เฮ็กต้าร์
เฮกโตเมตร- เฮ็กโตเม้ตร