หลังจากที่ได้เห็นคะแนนโอเนทและเอเนทกันไปแล้ว
ก็มาถึงเวลาสำคัญที่จะต้องมาเลือกอันดับเพื่อที่จะยื่นพิจารณากัน
โดยในปีการศึกษานี้สามารถเลือกแอดมิชชั่นกลางได้ ๔ อันดับ
ไม่ว่าจะโควต้ารับตรงหรือกลางก็ลองมาดูข้อแนะนำนิดๆ หน่อยๆ
จากรุ่นพี่กันดีกว่า
๑. คะแนนเราเป็นอย่างไรบ้าง
ข้อแรกหลายคนก็ทำหน้าถอดสี ที่เราต้องดูเพราะน้องๆ
หลายคนคงจะเคยได้ยินคนแนะนำให้เลือกอันดับที่ ๑ ตามความฝัน
แต่ก็อยากให้ดูความจริงด้วยอีกนิดนึง
ว่าคะแนนที่เรามีสามารถไล่ตามฝันได้หรือไม่ เช่น ฝันอยากเป็นแพทย์
แต่คะแนนรวมเราไม่ถึงร้อยละ ๕๐ ก็ไปมองหาคณะอื่นเหอะ
แต่ถ้าคะแนนห่างไม่มาก จะลองดูก็ไม่ว่ากันขอรับ
๒. สี่อันดับเรียงตามอะไรดี
ข้อนี้เรียงตามได้หลายวิธี
โดยคนส่วนใหญ่มักจะเรียงตามเปอร์เซ็นต์คะแนนที่ตัวเองเกินมาจากน้อยไปมาก
แต่บางคนก็เรียงตามความฝัน แต่พี่ๆ หลายคนแนะว่าควรเรียงตามความเป็นไปได้
เพราะนอกจากจะดูจากเรียงตามฝัน
และความต่างของคะแนนที่เกินจากคะแนนขั้นต่ำแล้ว
อยากให้ดูจากอัตรารับและอัตราแข่งขันด้วย สถิติมีประโยชน์นะขอรับ
๓. เปอร์เซ็นต์ติดกันมากก็ยอมทิ้งสักอันเหอะ
ขอยกตัวอย่างเลยละกัน เช่น เลือกอันดับ ๑ คะแนนน้องเกินมา ๑๒% เลือกอันดับ
๒ คะแนนเกินมา ๑๓.๕% จะเห็นได้ว่าช่วงห่างขอทั้งสองอันดับต่างกันเพียง
๑.๕ เปอร์เซ็นต์ ในกรณีที่ทั้ง ๒ อันดับที่เลือกเป็นคณะในกลุ่มเดียวกัน (
เช่น นิเทศศาสตร์ กับวารสารศาสตร์ )
ก็แนะนำให้น้องตัดใจเลือกว่าชอบอะไรมากกว่า แล้วตัดอีกอันทิ้งไปเถอะ
เพราะมันไม่ต่างกับน้องเลือกอันดับไปเพียงแค่อันดับเดียว
ได้มาก็มักจะได้อันบน แต่ร่วงทีร่วงคู่สองอันดับเลยนะครับ
น่าเสียดายโอกาสไป
๔. คุยกับรุ่นพี่ในคณะที่เลือกสักนิด
น้องควรจะรู้รายละเอียดในคณะที่เลือกให้ละเอียด เพราะเมื่อน้องตัดใจเลือก ๔
อันดับนี้แล้ว แสดงว่าน้องน่าจะสนใจในคณะที่เลือกพอสมควร
อย่าเลือกไปโดยไม่รู้อะไรในคณะนั้นเลย
เช่นเลือกสหเวชศาสตร์ไปเพราะคะแนนไม่ถึงแพทย์ (คณะนี้มีอะไรให้เรียรู้น่า
สนใจกว่าที่น้องคิดนะขอรับ)
เพราะบางคณะก็มีเงื่อนไขหรือรายวิชาที่ไม่เหมือนที่อื่นทั่วไปด้วย
ศึกษาให้ดีนะขอรับ
๕. อย่าตามเพื่อนหรือเลือกเพื่อเพียงให้ติด
ถ้าน้องไม่ชอบในคณะที่จะเข้าจริง เลือกเพราะเพื่อนเลือก ( เช่น
ผู้ชายเลือกคณะวิศวกรรมศาสตร์ตามเพื่อน เพราะไม่รู้ว่าตัวเองจะเข้าอะไรดี
แต่เพื่อนร่วมห้องเลือกเยอะก็เลยเลือกไปตามเค้า )
หรือเลือกเพราะอย่าให้พอมีชื่อว่าติดๆ ไป สุดท้ายน้องอาจจะเรียนไม่ไหว
โดนรีไทร์หรือซิ่วใหม่ไม่รู้ด้วยนะ
และที่สำคัญมันเป็นการทำลายโอกาสของคนที่เขาอยากเรียนจริงๆ
๖. เข้าหาครูแนะแนว
ท่านทำให้รุ่นพี่มีที่เรียนมาแล้วรุ่นต่อรุ่น
แล้วทำไมเราจะติดไม่ได้เชียว
การได้คุยกับครูแนะแนวเพียงเล้กน้อยก่อนตัดสินใจอะไรลงไป
อาจเปลี่ยนและช่วยให้ชีวิตน้องถึงฝั่งฝันได้นะขอรับ
๗. ปรึกษาผู้ปกครองสักนิด
ข้อนี้ห้ามลืมโดยเด็ดขาด เพราะลองคุยกับท่านดูว่าท่านเห็นชอบด้วยไหม
ถ้าไม่เห็นชอบก็ลองคุยกับผู้ปกครองดูสักนิด ปรับความเข้าใจให้ตรงกัน
เพราะอย่าลืมว่าการตัดสินใจของเราไม่ได้ส่งผลกับเราเพียงคนเดียวนะ
ยังมีคนที่อยู่ข้างหลังน้องๆ รออยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น