ลักษณะความแตกต่างของมหายาน และ หินยาน
พระพุทธศาสนาได้แบ่งนิกายใหญ่ ๆ ออกเป็น ๒ นิกาย คือ
๑. มหายาน
๒. หินยาน
ความแตกต่างของ ทั้ง ๒ นิ กาย มีดังนี้
ลักษณะมหายาน ๒๒ ประการ
๑. ชื่อนิกายในพระพุทธศาสนา ฝ่ายเหนือ
๒. มีชื่ออื่น ๆ อีก คือ อาจาริยวาท มหาสังฆิกะ อุตตรนิกาย
๓. นับถือกันในประเทศ ธิเบต จีน ณวน ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ
๔. ตั้งชื่อคำว่า “มหายาน” ขึ้นเอง
๕. มหายาน หมายถึงยานพาหนะใหญ่ หรือ ทางกว้างขวางที่จะพามนุษย์ สัตว์ข้ามพ้นห้วงทุกข์ มีความเชื่อว่า การกระทำ เช่นนั้น ไม่ใช่ของยากเย็นอะไรนัก
๖. มหายาน เกิดก่อน หินยาน
๗. มีกลุ่ม พระวัชชีบุตร เป็นหัวหน้าคราวแรก
๘. ทั้งพระธรรม-พระวินัย มีการเปลี่ยนแปลงไปตามภูมิประเทศ เหตุการณ์ เวลาอันเหมาะสม เพื่อให้คงอยู่ในที่ทุกแห่งได้
๙. ยิ่งนานยิ่งวิจิตรพิสดารขึ้นทุกที เป็นต้นว่าพระจีนนุ่งกางเกง ใส่เสื้อเหลือง พระญี่ปุ่นฉันข้าวเย็น และมีภรรยาได้
๑๐. ใช้ภาษาอริยะหรือภาษาสันสกฤตเผยแผ่ธรรม
๑๑. ถ้อยคำจากพระไตรปิฎกมักนำไปจารึกไว้ในแผ่นทอง
๑๒. พยายามชักชวนให้คนนับถือเลื่อมใสให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
๑๓. ชอบประดิษฐ์หลักการต่าง ๆ ที่เห็นว่าคนชอบมาใส่มาปนกันมาก
๑๔. ไม่หวังพึ่งบ้านเมือง ถือเป็นของประชาชนทั่วไป
๑๕. มีพระพุทธเจ้าอุบัติมากมาย
๑๖. มุ่งความคิดหรือลัทธิ ลัทธิใหม่อาจเกิดขึ้นได้พร้อมกับมีนักปราชญ์ขึ้นใหม่บางลัทธิเข้าใจยาก แต่ยิ่งเข้าใจยาก ถือว่า เป็นธรรมะชั้นสูง
๑๗. การนิพพานของพระพุทธเจ้าไม่สูญ แต่ทรงไปอยู่เบื้องสูง
๑๘. การได้อรหันตผล ถือเป็นการหาความสุขเอาตัวรอดผู้เดียว ไม่ช่วยชาวโลกและสัตว์โลก
๑๙. พยายามสร้างแดนสวรรค์ แต่เรียกชื่อใหญ่ว่า แดนสุขาวดี
๒๐. มุ่งให้ได้ตรัสรู้เป็นพระโพธิสัตว์เพื่อจะได้สั่งสอนธรรม โดยขอไม่ไปนิพพาน
๒๑. พระอัครสาวกเบื้องขวา คือ พระโกญทัญญะ พระอัคร สาวกเบื้องซ้าย คือ พระอานนท์
๒๒. ถือพระธรรม เป็นใหญ่กว่า พระวินัย เพราะพระเจ้า ตรัสรู้พระธรรม
ลักษณะหินยาน ๒๒ ประการ
๑. ถือนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้
๒. หินยานมีชื่ออื่น ๆ อีก คือ เถรวาท, สถวีระ, ทักษิณนิกาย
๓. นับถือกันมากในประเทศไทย ศรีลังกา พม่า มอญ ลาว เขมรฯลฯ
๔. คำว่า “หินยาน” เป็นชื่อที่มหายานตั้งให้ เพื่อให้แตกต่างกว่าพวกตน
๕. หินยาน มิได้แปลว่า เลวทรามต่ำเช้า แต่หมายถึง ยานอันน้อยไม่สามารถที่จะพาสัตว์ทั้งหลายข้ามพ้นห้วงแห่งทุกข์นั้น มิใช่เป็นของง่าย
๖. การตั้งชื่อ “หินยาน” หลังจากมี “มหายาน” แล้ว
๗. มีพระยสะเถระเป็นหัวหน้าในคราวแรก
๘. นับถือพระพุทธโอวาทโดยไม่มีการแก้ไข เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอันมีมาแต่เดิม ถือเป็นหลักปฎิบัติ
๙. ยิ่งเวลาล่วง ๆ ไป ความวิเศษในพระธรรมยิ่งแจ่มแจ้งขึ้น
๑๐. ใช้ภาษามคธ หรือ ภาษาบาลี เผยแผ่ธรรมะ
๑๑. ถ้อยคำในพระไตรปิฎก นิยมเขียนลงในใบลาน
๑๒. การชักชวนให้มีความเลื่อมใส ได้มุ่งคุณภาพมากว่าปริมาณ คือ ต้องการคนเลื่อมใสจริง ๆ (เข้ามาบวชเป็นพระ)
๑๓. ไม่ยอมรับหลักการของศาสนาอื่น ๆ เข้ามาผสม เพื่อเอาใจผู้มุ่ง มานับถือ
๑๔. ได้รับความอุปการะจากบ้านเมืองและประมุขของประเทศนั้น
๑๕. นับถือพระพุทธเจ้า ถือว่ามีไม่มากองค์นัก
๑๖. พระธรรมคำสั่งสอนสำคัญมาก ผู้ที่จะมีชื่อนั้นต้องพยายามนำ หลักธรรมมาอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ
๑๗. นิพพาน เป็นการข้ามพ้นสงสารวัฏ ดับสูญสนิจหมด
๑๘. การได้โพธิญาณ หรือ อรหัตผลเป็นความวิเศษ
๑๙. ไม่พยายามกล่าวถึงสวรรค์ เพื่อใช้เป็นเครื่องล่อ
๒๐. มุ่งนิพพานเป็นจุดสุดยอด
๒๑. มีพระอัครสาวกเบื้องขวา พระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องซ้าย พระโมคคัลลานะ
๒๒. ถือความสำคัญใน พระธรรม-พระวินัย เป็นของคู่กัน ไม่ยิ่ง หย่อนกว่ากัน
--------------------------------------------------------------------------------
พุทธศาสนาที่ประพฤติปฏิบัติกันอยู่ทั่วโลกขณะนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 นิกายใหญ่ๆ คือ
นิกายเถรวาทหรือหินยาน คือพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมที่ยังคงใช้แนวทางนี้อยู่ในประเทศศรีลังกา พม่า ลาว เขมร และไทย เป็นต้น ตามนิกายนี้ถือเอา อรหันต์มรรคเป็นหลัก
นิกายมหายานหรืออาจาริยวาท เป็นนิกายที่ประพฤติปฏิบัติกันอยู่ในประเทศธิเบต มงโกเลีย เกาหลี ญี่ปุ่น ใต้หวัน ฮ่องกง และจีน เป็น นิกายนี้ถือเอาพระโพธิสัตว์มรรค์เป็นหลัก
สำหรับสาเหตุที่ทำให้แยกเป็นสองนิกายนั้นมาจากเหตุเล็กน้อยสองประการคือ การประพฤติปฏิบัติไม่ตรงกันในเรื่องบทสิกขาเล็กๆ น้อย ในส่วนที่เรียกว่า ศีลสามัญญตา อีกประการหนึ่งคือ จากการที่ต่างฝ่ายต่างเห็นไม่ตรงกัน อันเป็นทิฆฐิสามัญญตา ก็เลยเป็นเหตุให้แยกออกจากกัน
ในความเป็นจริงอุดมการและการประพฤติปฏิบัติไม่ได้แตกต่างกันมากมายนัก เมื่อมีการเผยแพร่ไปในประเทศต่างๆ มีการปรับปรุงการดำเนินชีวิตและการประพฤติปฏิบัติให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติและสังคมประเพณีของประเทศนั้นๆ เช่นการนุ่งห่ม การขบฉัน และยิ่งเมื่อมีการแตกย่อยเป็นนิกายอื่นอีก ข้อปฏิบัติต่างๆ ก็อาจแตกต่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะนิกายมหายาน ที่ประกาศตนเป็นมหายานประมาณพุทธศตวรรษที่ 7-8
ความจริงแล้วหลักธรรมของพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นของนิกายใดก็ตรงกันทุกฝ่าย ที่มุ่งไปที่ความหลุดพ้น ข้อที่เราเห็นว่าแตกต่างนั้นไม่ได้อยู่ที่หลักธรรม แต่อยู่ที่หลักในการประพฤติปฏิบัติ หรือวิธีการประพฤติให้ถึงความหลุดพ้น ทางฝ่ายเถรวาทนั้นถือว่าบุคคลควรทำตนให้หลุดพ้นให้บริสุทธิ์ก่อนบรรลุหลัก ธรรมโดยปราศจากอาสวะเสียก่อน แล้วจึงทำตนให้เป็นแบบอย่างและเป็นครูผู้สอนผู้อื่น ส่วนฝ่ายมหายานไม่ได้ปฏิเสธหลักการดังกล่าว แต่ก่อนที่จะบำเพ็ญตนให้หลุดพ้นไปก่อนแต่ผู้เดียว ทางมหายานเสนอว่าควรจะได้มีโอกาสบำเพ็ญให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นไปพร้อมๆ กันด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น