welcome to my blog ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกค้ะ

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อาหารชั้นเยี่ยม

กระเทียม เป็นเครื่องเทศกลิ่นแรงที่ใช้ประกอบอาหารกันมามากกว่า 5,000 ปี นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบในสูตรยาฆ่าเชื้ออีกด้วย หลุยส์ ปาสเตอร์พบว่า กระเทียมสามารถฆ่าเชื้อที่อยู่ในจานเพาะเชื้อได้ และยังพบว่ากระเทียมจะกระตุ้นการทำงานของร่างกายในการป้องกันเซลล์มะเร็ง อับดุลลาห์ แพทย์ของมหาวิทยาลัยฟลอริดา พบว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ที่กินกระเทียม สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีกว่าเซล์เม็ดเลือดขาวของผู้ไม่กินกระเทียมถึง 139 % มีการทดลองพบว่าทั้งกระเทียมและหัวหอมสามารถลดการเกิดมะเร็งที่ผิวหนัง และจากการให้หนูทดลองกินกระเทียม พบว่าในหนูที่มีแนวโน้มว่าทางพันธุกรรมว่าเป็นมะเร็งได้ง่าย จะมีโอกาสเป็นมะเร็งลดลง

มะเร็งที่พบได้บ่อย คือมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งนักวิจัยชาวจีน พบว่าการบริโภคกระเทียมและหัวหอมในปริมาณสูงๆ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่กระเพาะลงได้ครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้กระเทียมยังทำให้ตับสามารถทนต่อสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้มากขึ้นด้วย และด้วยกลไกการออกฤทธิ์ของกระเทียมที่จะทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็ง แต่ไม่ทำลายเซลล์ปกติ ดังนั้นจึงสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย

แคโรทีนอย -ทั้งแคโรทีนอยและไบโอฟลาวินอยในพืช จัดว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยังกระตุ้นการทำงาของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย โดยที่หน้าที่หลักของแคโรทีนอย คือจะเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง แคโรทีนอยจะพบทั้งในผัก-ผลไม้สีเขียวและสีส้ม ส่วนไบโอฟลาวินอยจะพบในพวกผลไม้รสเปรี้ยว ธัญพืช น้ำผึ้ง

พวกหัวกะหล่ำ -ได้แก่ บร็อคโคลี, กะหล่ำปลี, กะหล่ำปลีbrussel, ดอกกะหล่ำ ซึ่งพืชเหล่านี้จะมีส่วนหัวอยู่ติดกับพื้นดิน เนื่องจากในพืชชนิดนี้จะมีสารอินโดล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกิ้นส์ พบว่าในสัตว์ทดลองที่เลี้ยงด้วยพืชประเภทนี้ เมื่อได้สารก่อมะเร็งชนิดอัลฟาทอกซินนั้นโอกาสเกิดมะเร็งลดลงถึง 90 %

เห็ด นักวิทยาศาสตร์พบว่าเห็ดไรชิ ,เห็ดชิตาเกะ ,เห็ดไมตาเกะ มีสารต้านมะเร็งในปริมาณสูง มีการทดลองให้สัตว์กินสารสกัดจากเห็ดไมตาเกะ พบว่า 40%ของสัตว์ทั้งหมดสามารถกำจัดมะเร็งได้หมดสิ้น ส่วนอีกสัตว์อีก60%นั้นสามารถกำจัดมะเร็งได้ถึง 90% ในเห็ดไมตาเกะ ประกอบด้วยโพลีแซคคาไลท์ ที่ชื่อว่า เบต้า-กลูแคน ซึ่งช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและช่วยลดความดันเลือด

ถั่ว - บรรดาเมล็ดพืชทั้งหลายที่มีเปลือก จะมีสารโปรตีเอสอินฮิบิเตอร์ทำให้ร่างกายของเราไม่สามารถย่อยเมล็ดเหล่านั้นได้โดยตรง จาการค้นพบที่ผ่านมาพบว่าสารโปรตีเอสอินฮิบิเตอร์ สามารถยับยั้งการโตของเซลล์มะเร็งได้ สถาบันมะเร็งนานาชาติ พบว่าในอาหารประเภทถั่วนั้นประกอบด้วยสารไอโซฟลาโวนและสารไฟโตเอสโตรเจนที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี และจากงานวิจัยของDr. Ann Kennedy พบว่าในถั่วมีคุณสมบัติดังนี้

· ป้องกันการเกิดมะเร็งในสัตว์ที่ได้สารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

· ในงานวิจัยบางงานพบว่า สามารถทำให้เซลล์มะเร็งโตช้าลง

· ลดผลข้างเคียงของการใช้ยาและรังสีเพื่อการรักษามะเร็ง

· สามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้เป็นเซลล์ปกติได้

นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่สามารถยับยั้งการแพร่ของมะเร็งได้ อาทิเช่น แอปเปิ้ล แอพริคอท บาร์เล่ย์ ผลไม้รสเปรี้ยว แครนเบอร์รี่ ปลา น้ำมันปลา ขิง โสม ชาเขียว ผักโขม สาหร่ายทะเล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น