วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
อาหารชั้นเยี่ยม
มะเร็งที่พบได้บ่อย คือมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งนักวิจัยชาวจีน พบว่าการบริโภคกระเทียมและหัวหอมในปริมาณสูงๆ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่กระเพาะลงได้ครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้กระเทียมยังทำให้ตับสามารถทนต่อสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้มากขึ้นด้วย และด้วยกลไกการออกฤทธิ์ของกระเทียมที่จะทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็ง แต่ไม่ทำลายเซลล์ปกติ ดังนั้นจึงสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย
แคโรทีนอย -ทั้งแคโรทีนอยและไบโอฟลาวินอยในพืช จัดว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยังกระตุ้นการทำงาของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย โดยที่หน้าที่หลักของแคโรทีนอย คือจะเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง แคโรทีนอยจะพบทั้งในผัก-ผลไม้สีเขียวและสีส้ม ส่วนไบโอฟลาวินอยจะพบในพวกผลไม้รสเปรี้ยว ธัญพืช น้ำผึ้ง
พวกหัวกะหล่ำ -ได้แก่ บร็อคโคลี, กะหล่ำปลี, กะหล่ำปลีbrussel, ดอกกะหล่ำ ซึ่งพืชเหล่านี้จะมีส่วนหัวอยู่ติดกับพื้นดิน เนื่องจากในพืชชนิดนี้จะมีสารอินโดล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกิ้นส์ พบว่าในสัตว์ทดลองที่เลี้ยงด้วยพืชประเภทนี้ เมื่อได้สารก่อมะเร็งชนิดอัลฟาทอกซินนั้นโอกาสเกิดมะเร็งลดลงถึง 90 %
เห็ด นักวิทยาศาสตร์พบว่าเห็ดไรชิ ,เห็ดชิตาเกะ ,เห็ดไมตาเกะ มีสารต้านมะเร็งในปริมาณสูง มีการทดลองให้สัตว์กินสารสกัดจากเห็ดไมตาเกะ พบว่า 40%ของสัตว์ทั้งหมดสามารถกำจัดมะเร็งได้หมดสิ้น ส่วนอีกสัตว์อีก60%นั้นสามารถกำจัดมะเร็งได้ถึง 90% ในเห็ดไมตาเกะ ประกอบด้วยโพลีแซคคาไลท์ ที่ชื่อว่า เบต้า-กลูแคน ซึ่งช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและช่วยลดความดันเลือด
ถั่ว - บรรดาเมล็ดพืชทั้งหลายที่มีเปลือก จะมีสารโปรตีเอสอินฮิบิเตอร์ทำให้ร่างกายของเราไม่สามารถย่อยเมล็ดเหล่านั้นได้โดยตรง จาการค้นพบที่ผ่านมาพบว่าสารโปรตีเอสอินฮิบิเตอร์ สามารถยับยั้งการโตของเซลล์มะเร็งได้ สถาบันมะเร็งนานาชาติ พบว่าในอาหารประเภทถั่วนั้นประกอบด้วยสารไอโซฟลาโวนและสารไฟโตเอสโตรเจนที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี และจากงานวิจัยของDr. Ann Kennedy พบว่าในถั่วมีคุณสมบัติดังนี้
· ป้องกันการเกิดมะเร็งในสัตว์ที่ได้สารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
· ในงานวิจัยบางงานพบว่า สามารถทำให้เซลล์มะเร็งโตช้าลง
· ลดผลข้างเคียงของการใช้ยาและรังสีเพื่อการรักษามะเร็ง
· สามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้เป็นเซลล์ปกติได้
นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่สามารถยับยั้งการแพร่ของมะเร็งได้ อาทิเช่น แอปเปิ้ล แอพริคอท บาร์เล่ย์ ผลไม้รสเปรี้ยว แครนเบอร์รี่ ปลา น้ำมันปลา ขิง โสม ชาเขียว ผักโขม สาหร่ายทะเล
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ประชากรคนที่ 7000 ล้าน
ทั่วโลกเฉลิมฉลองที่โลกมีประชากรครบ 7,000 ล้านคนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยมีการจัดงานอย่างหรูสำหรับทารกแรกเกิดคนที่ 7,000 ล้าน ท่ามกลางคำเตือนว่า การที่โลกมีประชากรมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ
ขณะที่นักประชากรศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่า ช่วงเวลาใดที่ประชากรโลกจะแตะที่ระดับ 7,000 ล้านคน แต่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ใช้วันจันทร์ (31 ต.ค.) เป็นสัญลักษณ์ของวันที่ประชากรโลกครบ 7,000 ล้านคน กระนั้นทั่วโลกก็จัดงานฉลองประชากรครบ 7,000 ล้านคน
โดยการฉลองดังกล่าวเริ่มขึ้นในฟิลิปปินส์ ซึ่งทารกเพศหญิงชื่อดานิกา เมย์ คามาโช น้ำหนัก 2.5 กิโลกรัม ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นที่โรงพยาบาลโฮเซ่ ฟาเบลลา เมโมเรียล ในกรุงมะนิลา แต่เธอเกิดก่อนเที่ยงคืนวันอาทิตย์ 2 นาที อย่างไรก็ตาม แพทย์ที่ทำคลอด ได้เลือกที่จะให้หนูน้อยเกิดวันจันทร์
ทั้งนี้ ทารกได้ของขวัญมากมาย รวมทั้งเค้กช็อกโกแลต ที่มีข้อความ 7บี ฟิลิปปินส์ ซึ่งหมายถึงประชากรคนที่ 7,000 ล้านของโลกอยู่ในฟิลิปปินส์ พร้อมได้รับการประกาศให้เป็นหนึ่งในประชากรคนที่ 7,000 ล้านของโลก นอกจากนี้ ยังมีทุนการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิงและเงินยังชีพเพื่อให้พ่อแม่ของเธอไปลงทุนเปิดร้านขายของชำ
ส่วนประเทศอื่น ๆ ที่จัดงานฉลองประชากรคนที่ 7,000 ล้านของโลก เช่น แซมเบีย เวียดนาม รัสเซีย ไอวอรีโคสต์ ปาปัวนิวกินี บังกลาเทศ กัมพูชา อินเดีย ลาว และมัลดีฟส์ แต่ฟิลิปปินส์กลายเป็นประเทศแรกของโลกที่ประกาศทารกคนที่ 7,000 ล้าน ขณะที่ นายบัน คี-มูน เลขาธิการสหประชาชาติบอกว่า ทารกคนที่ 7,000 ล้านจะเข้าสู่โลกที่มีความแตกต่าง โดยเฉพาะเด็กที่เกิดในเขตที่มีความยากจน
สหประชาชาติประเมินว่า ประชากรโลกจะแตะที่ระดับ 8,000 ล้านคนในปี 2568 และเพิ่มเป็น 10,000 ล้านคนในปี 2626 แต่ตัวเลขดังกล่าวอาจสูงกว่านี้ ขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่อายุขัย ไปจนถึงการคุมกำเนิด และอัตราการเสียชีวิตของทารก ขณะที่จีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากสุดของโลกกว่า 1,300 ล้านคน รองลงมาเป็นอินเดียที่มีประชากรทะลุหลักพันล้านคนแล้ว.
วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
Loi Krathong Day
Loi Krathong takes place on the evening of the full moon of the 12th month in the traditional Thai lunar calendar. In the western calendar this usually falls in November.
Loi literally means 'to float,' while krathong refers to the lotus-shaped receptacle which can float on the water. Originally, the krathong was made of banana leaves or the layers of the trunk of a banana tree or a spider lily plant. A krathong contains food, betel nuts, flowers, joss sticks, candle and coins. Modern krathongs are more often made of bread or styrofoam. A bread krathong will disintegrate in a few a days and be eaten by fish and other animals. The traditional banana stalk krathongs are also biodegradable, but styrofoam krathongs are frowned on, since they are polluting and may take years to disappear. Regardless of the composition, a krathong will be decorated with elaborately-folded banana leaves, flowers, candles and incense sticks. A low value coin is sometimes included as an offering to the river spirits. During the night of the full moon, Thais will float their krathong on a river, canal or a pond lake. The festival is believed to originate in an ancient practice of paying respect to the spirit of the waters. Today it is simply a time to have fun.
Governmental offices, corporations and other organizations usually create big decorated rafts. There are also local and officially organised raft competitions, regarding its beauty and craftsmanship. In addition, there are also fireworks and beauty contestsduring the celebration of the festival.
The origins of Loi Krathong are stated to be in Sukhothai, but recently scholars have argued that it is in fact an invention from the Bangkok period.According to the writings of H.M. King Rama IV in 1863, the originally Brahmanical festival was adapted by Buddhists in Thailand as a ceremony to honour the original Buddha, Siddhartha Guatama. Apart from venerating the Buddha with light (the candle on the raft), the act of floating away the candle raft is symbolic of letting go of all one's grudges, anger and defilements, so that one can start life afresh on a better foot. People will also cut their fingernails and hair and add them to the raft as a symbol of letting go of the bad parts of oneself. Many Thai believe that floating a raft will bring good luck, and they do it to honor and thank the Goddess of Water, Phra Mae Khongkha (Thai: พระแม่คงคา).
The beauty contests that accompany the festival are known as "Nopphamat Queen Contests". According to legend, Nang Nopphamat (Thai: นางนพมาศ; alternatively spelled as "Noppamas" or "Nopamas") was a consort of the Sukothai king Loethai (14th century) and she had been the first to float a decorated raft. However, this is a new story which was invented during the first part of the 19th century. There is no evidence that a Nang Nopphamat ever existed. Instead it is a matter of fact that a woman of this name was instead the leading character of a novel released during the end of the reign of King Rama III – around 1850. Her character was written as guidance for all women who wished to become civil servants.
Kelantan in Malaysia also celebrates the same celebration, especially in the Tumpat area. The ministry in charge of tourism inMalaysia recognises it as an attraction for tourists. Many people visit the celebration each year.