วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553
ต้นกำเนิดของนาฬิกา
เดิมทีการบอกเวลาอาศัยปรากฏการณ์จากธรรมชาติ ดังเช่นระยะเวลาหนึ่งวันกำหนดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบ โดยสังเกตจากดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นจากขอบฟ้าด้านตะวันออก เคลื่อนตัวสูงขึ้นสู่ท้องฟ้าเรื่อยๆ จนเลยลับขอบฟ้าด้านกำเนิดตะวันตก แล้วจึงโผล่ขึ้นมาใหม่ เป็นอันครบรอบนับเวลาได้หนึ่งวัน คนสมัยก่อนจึงรู้เวลาด้วยการสังเกตตำแหน่งต่างๆ ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ซึ่งบอกเวลาเช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักประดิษฐ์นาฬิกาขึ้นใช้ เชื่อกันว่านาฬิกาแดดเป็นวิธีจับเวลายุคแรกสุดของโลกแบบหนึ่ง มีใช้มานานกว่า 5,000 ปีแล้วในอียิปต์ เงาของแสงแดดที่ส่องต้องแผ่นโลหะบนหน้าปัด จะเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ รอบหน้าปัดตัวเลขแต่ละชั่วโมง เวลาจะเปลี่ยนไปตามเงาแดดซึ่งเคลื่อนที่นั้น
นาฬิกาแดดเป็นนาฬิกาที่ใช้บอกเวลารุ่นแรกสุด ชาวสุเมเรียนเป็นชนเผ่าหนึ่งที่ใช้นาฬิกาชนิดนี้ โดยจะแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 12 ช่วงในหนึ่งวัน ซึ่งแต่ละช่วงจะกินเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยใช้วิธีวัดความยาวแสงเงาเป็นมาตรฐานในการวัดระยะเวลา
ด้านชาวอียิปต์แบ่งเวลาออกเป็น 12 ช่วงเช่นกัน โดยดูเวลาจากเสาหินแกรนิตที่เรียกว่า "Cleopratra Needles" การดูเวลาจะสังเกตจากความยาวและตำแหน่งเงาที่แสงอาทิตย์ตกกระทบบนพื้นทำกับขีดทั้ง 12 ช่วงเวลาที่แบ่งไว้ เพื่อจะได้ดูว่าช่วงกลางวันเหลือเวลาที่เท่าไร
ส่วนชาวโรมันแบ่งเวลาออกเป็นกลางวัน กลางคืน คอยมีเจ้าหน้าที่ประกาศเท่านั้น ขณะที่ชาวกรีกประดิษฐ์นาฬิกาน้ำ โดยใช้ถ้วยเจาะรูจมลงในโอ่ง เรียกว่า "Clepsydra" ดูการจมของถ้วยเทียบระยะเวลา ชาวกรีกใช้นาฬิกาชนิดนี้ในศาล ต่อมาในปี 250 ก่อนค.ศ. นักปราชญ์อาร์คิมิดิส พัฒนานาฬิกาน้ำนี้ขึ้นโดยเพิ่มตัวควบคุมความเร็ว เขาปรับปรุงนาฬิกชนิดนี้เพื่อใช้งานทางดาราศาสตร์
ต่อมาจึงมีการทำนาฬิกาทรายขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นแก้วเป่าสองชิ้นมีรูแคบๆกั้นกลาง โดยใช้ทรายเป็นตัวบอกเวลา จัดเป็นนาฬิกาแบบแรกที่ไม่อาศัยปัจจัยดินฟ้าอากาศ มักใช้จับเวลาระยะสั้นๆ เช่นการกล่าวสุนทรพจน์ การบูชา การเฝ้ายาม การทำอาหาร เป็นต้น
สำหรับนาฬิกายุคใหม่ พัฒนาขึ้นช่วง ค.ศ.100-1300 ในยุโรปและในจีน คำว่า "clock" ในภาษาฝรั่งเศสแปลว่าระฆัง อาศัยหลักการแรงดึงดูดก่อให้เกิดน้ำหนักที่จะเคลื่อนคันบังคับ ซึ่งจะทำให้เข็มนาฬิกาเคลื่อนที่ หอนาฬิกาแห่งแรกในโลกติดตั้งที่มหาวิหารสตร๊าสบวร์กในเยอรมนี ปีค.ศ.1352-54 และปัจจุบันยังใช้งานได้อยู่ ต่อมาในปีค.ศ.1577 จึงมีการประดิษฐ์เข็มนาที และในปี 1656 จึงมีการประดิษฐ์ลูกตุ้มที่ใช้ในนาฬิกาทำให้บอกเวลาเที่ยงตรงยิ่งขึ้น ส่วนนาฬิกาพก ประดิษฐ์ขึ้นโดยนายปีเตอร์ เฮนไลน์ ชาวเมืองนูเรมบวร์ก จากนั้นในปีค.ศ.1962 มีการประดิษฐ์นาฬิกาเชิงอะตอมซีเซียม ใช้ในหอดูดาวกรีนิช ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าจับเวลาคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น