welcome to my blog ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกค้ะ

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

5 อาชีพเน้นๆ ของคนชอบภาษา

1. นักแปล จริงๆ หากไม่จบภาษามา ใช่ว่าจะแปลไม่ได้ แต่การที่เรียนสายตรงด้านภาษามา ทำให้ได้ประสบการณ์การแปลที่หลากหลาย ถ้า น้องๆ บอร์ดนักเขียนมาอย่างคงเข้าใจ เพราะหนังสือก็มีหลายประเภทสำนวนภาษาที่ใช้ก็ต่างกัน ในหนังสือประเภทเดียวกันอย่างนวนิยาย ยังมีสำนวนต่างกัน เพราะคนเขียนต่างกัน การเรียนสายภาษามาโดยตรงทำให้ได้สัมผัสรูปแบบสำนวนที่แตกต่างกัน เพิ่มโอกาสให้นักแปลสามารถแปลงานได้หลากหลายมากขึ้น มี นักแปลหลายคนที่แปลนิยายทั่วไปได้ แต่แปลงานเอกสารราชการไม่ได้ ดังนั้นการเรียนมาทางสายภาษาและการแปลมาจะช่วยทำงานนี้ได้ดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับการศึกษาเพิ่มเติมตามประสบการณ์ด้วย อย่าง ไรก็ตาม นักแปลที่เรียนมาทางสายภาษาและมีใบรับรองอย่างเป็นทางการ สามารถทำให้ทำงานกับราชการได้ และยังเป็นที่น่าเชื่อถือต่อนายจ้างด้วย

2. นักพิสูจน์อักษร อาชีพที่ใช่ภาษาเน้นๆ อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะดูเหมือนแค่มีพจนานุกรมก็น่าจะทำอาชีพนี้ได้ แต่จริงๆ ด้วยรูปแบบงายที่อาจดูน่าเบื่อแบบนี้ ยิ่งต้องใช้ความสามารถทางภาษา ประกอบกับความละเอียดถี่ถ้วนเป็นอย่างมาก พิสูจน์อักษรไม่ดีขายหน้า นายจ้างหรือสำนักพิมพ์ได้ง่ายๆ ยิ่งเป็นคนดูแลจดหมายสำคัญของหน่วยงานแล้ว ตำแหน่งนี้ยิ่งสำคัญ เพราะถือเป็นความน่าเชื่อถือของหน่วยงานด้วย แค่จดหมายยังผิดได้ แล้วจะสามารถประกอบธุรกิจใดได้ ดังนั้น อาชีพนี้จึงมักต้องการคนเรียนภาษาเน้นๆ มาเท่านั้น เพื่อให้มีความแม่นยำในการตรวจสอบจริงนั่นเอง ไม่น่าเชื่อนะเนี่ย ใครว่าแค่พกพจนานุกรมก็พิสูจน์อักษรได้กัน!!!
3. มัคคุเทศก์ จริงๆ อาชีพนี้ไม่ถึงกับต้องการคนจบสายภาษาเน้นๆ แต่อย่างใด เพราะต้องการคนที่พอฟัง พูดภาษาต่างๆ ได้ก็ทำงานนี้ได้แล้ว แต่พี่เกียรติเอาเข้ามาในกลุ่มอาชีพของชาวภาษานี้ด้วย ก็เพราะจริงๆ อาชีพนี้...อย่างไรก็ต้องใช้ภาษาน่ะสิ ดังนั้น ใครอยากเป็นมัคคุเทศก์ เรียนรู้ภาษาได้หลายภาษามากกว่า ย่อมได้เปรียบกว่าในหลายๆ เรื่อง รับทัวร์ได้หลายชาติ เป็นมัคคุเทศก์ที่ใครๆ ต้องการตัวเชียว และโอกาสที่จะได้ลงเรียนหลายๆ ภาษา ก็คือต่อในคณะสายภาษาโดยตรงนั่นเอง แต่ก็ต้องประกอบกับนิสัยที่ช่างเจรจา หน้าตายิ้มแย้ม มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วย เพราะอาชีพนี้ต้องการคนคล่องแคล่ว ปัญหาของลูกทัวร์ต้องได้รับการแก้ไขได้ทันท่วงที


4. ล่าม อาชีพนี้ต้องการคนที่เข้าใจการฟัง และพูดภาษาต่างๆ และต้องมีความสามารถในการจับใจความ และสรุปความได้อย่างถูกต้อง ถูกความหมายด้วย เรียกว่า ต้องมีความสามารถทางภาษาจริงๆ และไม่ใช่แต่ภาษาทางการต่างๆ เท่านั้น ยังต้องติดตามการพัฒนาของภาษา ศัพท์ใหม่ ศัพท์ย่อ สำนวน-ศัพท์สแลงใหม่ๆ (สแลงนะ ไม่ใช่แสลง) ตลอดด้วย มิฉะนั้นอาจไม่สามารถแปลความได้อย่างถูกต้อง เพราะอาชีพล่ามนี้จะถือพจนานุกรมไป แปลไปพร้อมกันไม่ได้นะ ไม่น่าเชื่อถือ ดัง นั้น คนชอบภาษา มีความสามารถในการจับใจความ ชอบการสื่อสารและสรุปใจความได้ดี เหมาะกับอาชีพนี้มาก และต้องเป็นคนใจเปิดกว้าง ยุติธรรมพอควรด้วยนะ เช่น กรณีเป็นล่ามให้แก่จำเลยในศาล ต้องมีจรรยาของล่าม  ปฏิบัติหน้าที่ในขอบเขตการแปล และไม่ให้คำแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นแก่บุคคลที่ตนปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามให้ เพราะเคยมีกรณีล่ามจงใจแปลผิดความหมาย เพราะไม่ต้องการให้การสนทนานั้นๆ ประสบความสำเร็จด้วยล่ะ 

5. ครูสอนภาษา อาชีพนี้ต้องการคนเก่งภาษาจริงๆ นะ ไม่งั้นสอนผิดๆ ถูกๆ แย่เลย ใครชอบสอน ใครมีความสุขกับการได้แนะนำเพื่อนทำการบ้าน และก็รักภาษา พี่เกียรติขอแนะนำอาชีพนี้ ลูก หลานเราจะได้เก่งภาษา และรักการเรียนวิชาภาษาขึ้นมาทันใด อิ อิ ครูที่ดีมีทั้งจิตวิญญาณ และความรู้จะนำพาให้อนาคตของชาติเป็นกำลังที่ดีชาติต่อไป ถ้าอยากเป็นครูในโรงเรียน  แนะนำคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์เอกภาษาที่ชอบเลยจ้า 

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

The Names of the days

ชื่อวัน ใน 1 สัปดาห์ (The Names of the Days) 
          การ กำหนดชื่อวันในแต่ละสัปดาห์ในทุกชาติทุกภาษาจะตั้งชื่อให้เกี่ยวข้องกับ เทพเจ้าในตำนาน หรือมีความหมายตามดาวดาวทั้ง 7 แทบทั้งสิ้น สมัยแรกๆ จะให้วันเสาร์ (Saturday) เป็นวันแรกของสัปดาห์ ต่อมา ได้นับถือดวงอาทิตย์มากขึ้น จึงให้วันของดวงอาทิตย์ (Sun's day) เลื่อนอันดับ จากวันอันดับที่ 2 ของสัปดาห์ เป็นวันแรกของสัปดาห์แทน ทำให้วันเสาร์ กลายเป็นวันลำดับที่ 7 ของสัปดาห์ไปในที่สุด
วันอาทิตย์ (Sunday)
        มีชื่อมาจากภาษาละติน ว่า "dies solis" หมายถึง "วันของดวงอาทิตย์" (Sun's day) เป็นชื่อวันหยุดของคนนอกศาสนา และต่อมา ถูกเรียกว่า "Dominica" (ภาษาละติน) หมายถึง "วันของพระเจ้า" (the Day of God) ต่อมา ภาษาที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน เช่น ฝรั่งเศส, สเปน, อิตาเลี่ยน ก็ยังคงใช้คำที่คล้ายกับรากศัพท์ดังกล่าว เช่น

• ภาษาฝรั่งเศส: dimanche; 
• ภาษาอิตาเลี่ยน: domenica; 
• ภาษาสเปน: domingo
• ภาษาเยอรมัน: Sonntag; 
• ภาษาดัทช์: zondag ทั้งหมดมีความหมายว่า "Sun-day"
 
วันจันทร์ (Monday)
        มีชื่อมาจากคำว่า "monandaeg" หมายถึง "วันของดวงจันทร์" (The Moon's day) เป็นวันที่สองของสัปดาห์ ที่ตั้งขึ้นมา เพื่อสักการะ "เทพธิดาแห่งดวงจันทร์" (The goddess of the moon)
• ภาษาฝรั่งเศส: lundi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: lunedi; 
• ภาษาสเปน: lunes (มาจากคำว่า Luna หมายถึง "ดวงจันทร์")
• ภาษาเยอรมัน: Montag; 
• ภาษาดัทช์: maandag ทั้งหมดมีความหมายว่า "Moon-day"

วันอังคาร (Tuesday)
      เป็นชื่อเทพเจ้า Tyr ของชาวนอรเวโบราณ (The Norse god Tyr) ส่วนชาวโรมัน เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพเจ้าสงคราม แห่งดาวอังคาร (the war-god Mars) ว่า "dies Martis" 
• ภาษาฝรั่งเศส: mardi; 
• ภาษาอิตาเลี่ยน: martedi; 
• ภาษาสเปน: martes
• ภาษาเยอรมัน: Diensdag; 
• ภาษาดัทช์: dinsdag; 
• ภาษาสวีเดน: tisdag
 
 วันพุธ (Wednesday)
เป็นวันที่ตั้งเป็นเกียรติสำหรับ เทพเจ้า Odin ของชาวสวีเดน และนอรเวโบราณ ส่วนชาวโรมันเรียกว่า "dies Mercurii" สำหรับใช้เรียกเทพเจ้า Mercury (ประจำดาวพุธ)
• ภาษาฝรั่งเศส: mercredi; 
• ภาษาอิตาเลี่ยน: mercoledi; 
• ภาษาสเปน: miercoles
• ภาษาเยอรมัน: Mittwoch; 
• ภาษาดัทช์: woensdag
 
วันพฤหัสบดี (Thursday)
เป็นชื่อเทพเจ้า Thor ของชาวนอรเวโบราณ (The Norse god Thor) เรียกว่า "Torsdag" ส่วนชาวโรมัน เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพเจ้า Jove หรือ Jupiter ซึ่งเป็นเทพเจ้า แห่งเทพทั้งปวง และเรียกวันนี้ว่า "dies Jovis" หมายถึง วันของ Jove (Jove's Day)
• ภาษาฝรั่งเศส: jeudi; 
• ภาษาอิตาเลี่ยน: giovedi; 
• ภาษาสเปน: el jueves
• ภาษาเยอรมัน: Donnerstag; 
• ภาษาดัทช์: donderdag ทั้งหมดมีความหมายว่า "วันสายฟ้า" (Thundar day)

 วันศุกร์ (Friday)
      เป็นชื่อเทพธิดา Frigg ของชาวนอรเวโบราณ (The Norse goddess Frigg) ภาษาเยอรมันเคยเรียกว่า "frigedag" ส่วนชาวโรมัน เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพธิดา Venus ว่า "dies veneris" 
• ภาษาฝรั่งเศส: vendredi; 
• ภาษาอิตาเลี่ยน: venerdi; 
• ภาษาสเปน: viernes
• ภาษาเยอรมัน: Freitag; 
• ภาษาดัทช์: vrijdag
 
วันเสาร์ (Saturday)

      ชาวโรมันใช้เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพเจ้า Saturn ว่า "dies Saturni" หมายถึง Saturn's Day.
• ภาษาฝรั่งเศส: samedi; 
• ภาษาอิตาเลี่ยน: sabato; 
• ภาษาสเปน: el sabado
• ภาษาเยอรมัน: Samstag; 
• ภาษาดัทช์: zaterdag; 
• ภาษาสวีเดน: Lordag
• ภาษาเดนมาร์คและนอรเว: Lordag หมายถึง "วันชำระล้าง" (Washing day)

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เคล็ดลับ การเรียนเก่ง

เคล็ดลับ การเรียนเก่ง
1.คุมเวลาตื่นนอนให้ได้ทุกวันก่อนครับ. 

เช่น ตื่น โมงเช้านอน ทุ่ม ซัก เดือนติดต่อกัน 
ให้ได้ก่อนค่อยมาว่าจะอ่านหนังสือครับ. 
เพราะจะเป็นการจัดระบบมันสมองใด้อย่างดีเยี่ยม 
และจะรู้สึกว่าสมองมีพลังในการรับรู้ครับ. 
ถ้าทำข้อนี้ไม่ได้ อย่าคิดว่าจะเรียนให้ดีได้ยากครับ.

2. หลักการอ่านหนังสือใด ๆ ไม่จำเป็นต้องอ่านทีละนาน ๆ คะ

       เช่นตั้งไว้ว่า วันนึง เราจะ อ่านซัก 1 - 2 ชม.ก็เกินพอครับ. 
แต่สำคัญอยู่ที่ความต่อเนื่องครับ. ถ้ายังบังคับตัวเองไม่อยู่ ข้อ 1. ก็เป็นการฝึกบังคับอย่างนึงแล้ว 
ต้องอ่านทุกวัน ไม่มีวันหยุดครับ.

3. ที่ว่า 1 -2 ชม.นั้นต้องรู้ว่าตัวเองเราสามารถรับได้ครั้งละเท่าไรครับ.

       อย่างเช่นพี่จะ อ่านวันละ ชม. แต่แบ่ง เป็น ยกครับ. ครั้งละ 25 - 30 นาที 
และพัก 5- 10 นาที

4. อ่านจบวันนึง ๆ ต้องมีสรุปแบบเล่มยาว ๆ เลยนะครับ. 


      สรุปสั้น ๆ ว่าวันนี้ได้อะไรบ้าง สูตรอะไร ๆ หรือความเข้าใจอะไร

5. ถึงตอนนอนให้นั่งสมาธิซัก นาทีพอรู้สึกใจเริ่มนิ่ง ให้นึกที่เราสรุปไว้ เมื่อกี๊ครับ.

          ถ้านึกไม่ออกแสดงว่าสมาธิตอนอ่านหนังสือไม่ดี
ให้เปิดไฟ ลุกออกไปดูที่สรุปใหม่ แล้วนึกใหม่ครับ.

6. ต้องรู้วิธีเรียนในแต่ละวิชาครับ.

        เช่น คณิต + ฟิสิกส์ เน้นความเข้าใจเป็นอันดับ 
เคมี เน้น เข้าใจ + ท่องจำบางอย่าง เช่น ตารางธาตุ ถ้าท่องยังไม่ได้แสดงว่าไม่เข้าใจว่ามันจำเป็นต้องจำ อังกฤษ เป็นเรื่องทักษะ ต้องใช้บ่อย ๆ ครับ. 
เวลาจะทำอะไรก็นึกเป็นภาษาอังกฤษบ้าง 
เช่นนึกจะทักเพื่อนว่าไปไหน ก็นึกว่า 
where do you go .? อะไรเป็นต้น 
แล้วก็ต้องเข้าใจ เป็นภาษาต่างด้าวยังมีคำหรือสำนวนที่เราไม่เข้าใจอีกเยอะ 
ดังนั้นเรื่องศัพท์ต้องรู้เยอะ ๆ เวลาจะไปดูหนัง Entertain กันทั้งที 
ก็เลือกดูเรื่องที่เขามีแต่ sub title เป็นภาษาอังกฤษ

7. วิธีเรียนพวกวิชาที่ใช้ความเข้าใจ

อันดับแรกต้องรีบศึกษาเนื้อหาทั้งหมดให้จบอย่างรวดเร็วครับ. 
ถามว่าอ่านจากไหน อย่ามองไกลครับ. 
แบบเรียนนั่นล่ะ อย่าเพิ่งไปมองพวกคู่มือ 
ถ้าเราอ่านแบบเรียนไม่รู้เรื่อง ก็อย่าไปหวังจะดูตำราอื่นเลยครับ. 
จากนั้นให้รีบหา แบบฝึกหัด มาทำในแบบเรียนนั่นล่ะให้ได้หมดก่อน 
จากนั้นค่อย เสาะหาตำราคู่มือที่คิดว่าเราดี อ่านแล้วเข้าใจอีกซักเล่มนึงมา 
อ่านเนื้อหาให้หมด อีกที แล้วทำแบบฝึกหัดในเล่มนั้นให้จบหมด . 
สำคัญคือความตั้งใจนะครับ. 
ต้องเข้าใจว่าเรา มีความรู้ในบทนั้น ๆ จบแล้ว 
ทำไมยังทำโจทย์บางข้อไม่ได้ พยายามคิด 
สุดท้ายไม่ออก ก็ดูเฉลย แล้วต้องตอบตัวเอง 
ให้ได้ว่าเราโง่ตรงไหน ทำไมทำไม่ได้ 
โจทย์ข้อนั้น ๆ เป็นเทคนิคเฉพาะหรือเปล่า 
ต่อไป ก็เสาะหาพวกข้อสอบต่าง ๆ มาให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว ก็ ทำ ๆ ๆ จนเกิดรู้สึกว่า 
บรรลุ !!! ในเรื่องนั้น ๆ มันเป็นความรู้สึกคล้าย ๆ สำเร็จเป็นผู้วิเศษอะไรทำนองนั้น หรือฝึกวิทยายุทธสำเร็จแบบนั้น 
มองโจทย์ปุ๊บ จะเกิดความคิด แปร๊บ ๆ ขึ้นมานึกออกทะลุหมด 
เมื่อนั้นรู้สึกแบบนี้เมื่อไร ให้รีบสรุปเนื้อหาบทนั้น ๆ ออกมา 
ในกระดาษขนาดประมาณ 2.5 นิ้ว คูณ 4 - 5 นิ้วครับ. 
ใช้หน้าหลังเขียนให้พอให้ได้ใน บทต่อ แผ่น อาจจะมียกเว้นบางบท 
เช่น สถิติ อาจใช้ถึง แผ่น หรือตรีโกณ แผ่น ส่วนใหญ่ไม่เกินหรอกครับ. 
จากนั้นปาตำราบทนั้น ๆ ทิ้งไปเลยครับ

8. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำอะไรก็ตามที่

         คือ ต้องมีความรู้ติดสมอง สามารถหยิบมาใช้การได้ทันทีครับ. ถ้าคิดจะเรียนเพื่อสอบนั่นก็แสดงว่า กำลังคิดผิดอย่างใหญ่หลวงครับ. เด็กสมัยใหมนี้ชอบคิดว่าเรียน ๆ ไปเพื่อสอบ สอบเสร็จก็เลิก นั่นเป็นเพราะผลพวงของระบบ แข่งในการศึกษาของไทยเราครับ. เด็กต้องสอบ Entrance เข้าต่อ ทำให้ไม่เกิดความรู้สึกในการใฝ่รู้ 
ต้องเข้าใจว่าเราเรียนหนังสือนี่ ต้องถือว่าไม่มีใครมาบังคับเรา 
เราเรียนเพื่อตัวเราเอง เพื่อพัมนาสมองเราเอง พัฒนา มุมมองความคิดต่าง ๆ 
เพื่อให้เราเป็นยอดคนเอง สามารถที่จะพึ่งตัวเองได้ทุกเมื่อ 
ไม่ว่าจะยังอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองหรือหลุดจากอ้อมแขน บิดามารดาเมื่อไร 
ต้องสามารถที่จะกล้าคิดและทำ พึ่งตัวเอง ยังชีพตัวองในสังคมนี้ได้ครับ. 
ดังนั้น จากข้อ 7. เราต้องบันทึกความรู้ที่เรารู้แล้ว 
ให้เป็นความรู้ยาวนานติดสมอง 
โดยทำดังต่อไปนี้ค๊ะ
        - ให้นึก ! โน๊ตย่อที่เราสรุปเอง อาทิตย์ละหน ติดต่อกัน ซัก เดือนหรือ อาทิตย์
นึกนะครับ . ไม่ใช่เปิดดูถ้านึกไม่ออก แสดงว่าไม่ได้สรุปเองแล้วล่ะเปิดหนังสือ แล้วสรุปตามแหง ๆ 
จากนั้นให้ทิ้งห่างเป็น นึก เดือนต่อครั้ง 
จนเริ่มรู้สึกเบื่อ เพราะนึกทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว
ให้เลิกครับ. ใกล้สอบค่อยว่ากันอีกที 
กระบวนการที่ว่านึกตั้งแต่ อาทิตยืจนเลิกนึกนี่ 
คาดว่าไม่ตำกว่า เดือนนะครับ. 
ใครน้อยกว่านี้ แสดงว่าโกหกตัวเองชัวร์

9. กระบวนการสุดท้าย เป็นการเพิ่มพลังความมั่นใจในตัวเองซึ่งต้องกระทำติดต่อกันบ่อยๆ เรื่อยๆ คือกระบวนการสอบแข่งขันครับ.

 ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าเป็นไปได้สอบแข่งซะแต่ 
ม.จนจบ ม.เลย จะทำให้เรารู้อันดับตัวเอง 
เมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ ครับ. เช่นเราอาจจะเรียนได้เกรดดี แต่พอสอบแข่ง จริง ๆล่ะ สู้เขาได้ใหม 
ทักษะในการทำข้อสอบ มีใหม 
เข้าห้องก็เดินหน้าลุยทำแต่ข้อแรกยันข้อสุดท้ายเลยหรือเปล่า 
ก็พวก สมาคม โอลิมปิก หรืออะไรก็ตามที ทั้งสอบแข่งในโรงเรียน 
เช่น โรงเรียนจัดเอง หรือสัปดาห์ต่าง เช่น สัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ 
ภาษาอังกฤษ โคงงงานวิทยาศาตร์ ตอบปัญหาภาษาไทย อังกฤษ ฯลฯ 
สุดท้ายทั้งหมดที่ว่ามา ถ้าน้องคนไหนทำได้นะครับ. ซัก 1 - 2 ปี รู้ผลแน่ 
พี่รับรองได้ 100 % เลยว่าอย่างน้อยต้องอยู่ในอันดับ 1 - 3 ของชั้น 
แน่นอน อันดับระดับประเทศ ก็ไม่เกิน 50 อย่างมาก 
อ้อ ลืมบอกไปครับ. สิ่งสำคัญคือการอ่านล่วงหน้าครับ. 
ช่วงปิดเทอม ก็อ่านของเทอมหน้านู้นหรือ อยู่ ม.จะอ่านของ ม.ก็ได้นะไม่ผิด