วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ประเทศอังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ชื่อว่า เป็นศูนย์กลางของการศึกษา และเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยมีห้องสมุดสำคัญคือ หอสมุดแห่งชาติ (The British Library) เป็นอาคารสาธารณะกลางที่ใหญ่ที่สุดในกรุงลอนดอน ซึ่งเพิ่งมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2540 มีจุดที่เด่นภายในอาคารหอสมุดแห่งนี้ คือ The King’s Library ซึ่งก่อสร้างเป็นหอกระจกงดงามสูงขนาดตึก 6 ชั้น ตั้งอยู่ใจกลางอาคาร โดยเป็นที่รวบรวมหนังสือส่วนพระองค์ของพระเจ้าจอร์จที่ 3 หอสมุดแห่งชาตินี้มีร้านหนังสือที่ขายหนังสือ CD สมุดบันทึกสำหรับนักอ่าน (Reader’s diary) และในบรรดาโครงการหลากหลายที่น่าสนใจ คือโครงการ Turning the Pages - Treasures of The British Library ซึ่งคัดเลือกหนังสือเก่าแก่ที่เป็นมรดกล้ำค่าชิ้นสำคัญของมนุษยชาติ มานำเสนอในลักษณะ e-book เช่น สมุดบันทึกและสเก็ตช์ภาพของ ลีโอนาร์โด ดาวินชีี, Magna Carta เอกสารทางกฎหมายที่เก่าแก่ของประเทศอังกฤษ เป็นต้น
(สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.bl.uk)
- ห้องสมุดอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจอยู่ชานกรุงลอนดอนซึ่งเป็นห้องสมุดที่บริหาร จัดการโดยท้องถิ่น คือ Idea Store หรือ Library Learning Information ซึ่งก่อสร้างเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2547 การออกแบบมีสีสันบรรยากาศทันสมัย ผสมผสานการเรียนรู้ตลอดชีวิตคู่กับกิจกรรมวัฒนธรรม รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่น่าสนใจ เช่น กิจกรรม Breakfast Club
- ประเทศอังกฤษยังมีกิจกรรมเพื่อรณรงค์และส่งเสริมการอ่านระดับชาติที่น่าสนใจ เช่น โครงการ Premier League Reading Stars ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง the National Literacy Trust สโมสรฟุตบอลพรีเมียร์ ลีค และสมาคมฟุตบอล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 โดยแต่ละสโมสรคัดเลือกดาราฟุตบอลพรีเมียร์ลีกปีละ 1 คน เช่น ในปี พ.ศ.2548 John Terry จากสโมสรเชลซี แนะนำหนังสือ เรื่อง Cool! ของ Michael Morpurgo สโมสรแมนแชสเตอร์ยูไนเต็ดเลือก Ryan Giggs ซึ่งแนะนำหนังสือเรื่อง A Long Walk to Freedom ของ เนลสัน แมนเดลา สโมสรลิเวอร์พูล เลือก Chris Kirkland ซึ่งแนะนำหนังสือเรื่อง There's a Viking in My Bed ของ Jeremy Strong สโมสรอาร์เซนัล เลือก Freddie Ljungberg ซึ่งแนะนำหนังสือเรื่อง Cars, Trucks & Things That Go ของ Richard Scarry เป็นต้น Reading Stars เหล่านี้เป็นพรีเซนเตอร์เพื่อรณรงค์การส่งเสริมการอ่านแก่เยาวชน และ บางครั้งอ่านหนังสือให้เด็กฟังในห้องสมุดที่เข้าร่วมโครงการ ฯลฯ
วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เรื่องราวของแวมไพร์ หรือผีดูดเลือด
เรื่องราวของแวมไพร์ หรือผีดูดเลือด เป็นเรื่องราวที่มีการบอกเล่าต่อกันมานานหลายร้อยปี และปรากฏอยู่ในตำนานของหลายประเทศทั่วโลก มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น แวมไพร์ตามตำนานเม็กซิโกจะมีกระโหลกมนุษย์วางอยู่บนศีรษะ แวมไพร์แถบเทือกเขาร็อกกี้จะดูดเลือดทางจมูก แวมไพร์ตามตำนานโรมาเนียจะมีร่างกายผอมซีดและไว้เล็บยาว เป็นต้น แต่ถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น แวมไพร์ทั่วโลกก็มีวิถีชีวิต รูปแบบการดูดเลือด และการสืบทายาทแวมไพร์ที่ไม่ต่างอะไรกันเลย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. แวมไพร์เป็นผีดิบในร่างของมนุษย์ มีฟันแหลมคม ดื่มเลือดมนุษย์เป็นอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงให้มีชีวิตเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย
2. แวมไพร์ถูกนำมาเปรียบเทียบเป็นมนุษย์ค้างคาวผีดิบ เนื่องจากแวมไพร์หากินกลางคืนต่างจากสัตว์ชนิดอื่น ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงแวมไพร์ ก็มักจะนึกถึงผีดิบผิวซีดในชุดสีดำคล้ายค้างคาว
3. ในตอนกลางวันแวมไพร์จะนอนนิ่งอยู่ในโลงศพ ในสภาพที่ตาข้างหนึ่งเปิดอยู่ มีเลือดติดอยู่ตามปากหรือจมูก
4. ในตอนกลางคืนแวมไพร์จะออกหาเหยื่อ เพื่อดูดเลือดบริเวณคอของเหยื่อ โดยเหยื่อมักจะเป็นเพศตรงข้ามเสมอ
5. แวมไพร์ ถ่ายทอดเชื้อสายด้วยการกัด แต่ผู้ที่ถูกกัดทุกคนอาจเสียชีวิตและไม่ได้ถูกปลุกขึ้นมาเป็นแวมไพร์ตัวใหม่ก็ได้
6. ศพของแวมไพร์จะไม่เน่าเปื่อย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด ใบหน้าจะยังดูมีเลือดไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา เพราะได้เลือดของเหยื่อหล่อเลี้ยงไว้
7. แวมไพร์ สามารถสยบได้ด้วยกระเทียม ซึ่งเป็นพืชที่มีกลิ่นฉุนมาก หรือไม้กางเขน และน้ำมนต์
ในแถบประเทศตะวันตก แวมไพร์ เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในประเทศอังกฤษ หลังจากมีการบันทึกในประวัติศาสตร์ว่า อาร์โนลด์ เปาเล ชาวเซอร์เบีย เป็นผู้ที่ได้รับการสืบเชื้อสายจากแวมไพร์ หลังจากที่เขากลับมาจากการปฏิบัติหน้าที่ทางการทหารในกรีซ และเขาก็ได้สารภาพกับภรรยาว่าถูกแวมไพร์ดูดเลือดและได้รับการถ่ายทอดเป็นแวมไพร์ ต่อมาไม่นานเขาได้เสียชีวิตลง แต่คนในหมู่บ้านยังเห็นเขาวนเวียนอยู่ในหมู่บ้านในยามค่ำคืน จึงมีการขุดเอาศพเขาขึ้นมาดูอีกครั้ง และพบว่า เขานอนนิ่งเป็นศพแต่กลับมีรอยเลือดติดอยู่ที่ปากของเขา ชาวบ้านจึงพิสูจน์ด้วยการตอกหมุดลงไปที่หัวใจ ปรากฎว่ามีเลือดไหลทะลักออกมาตามด้วยเสียงกรีดร้อง จากนั้นศพของเขาก็ถูกนำไปเผาและก็ไม่มีใครพบเขาปรากฎตัวในหมู่บ้านอีกเลยหลังจากนั้น แต่ต่อมาไม่นาน ก็พบแวมไพร์อีกหลายตัวอยู่ในหมู่บ้าน จึงเชื่อว่าแวมไพร์เหล่านั้นเป็นเชื้อสายของเปาเล และพวกเขาก็คงถูกเปาเลกัด ซึ่งพ้องกับสิ่งที่เปาเลได้เคยบอกภรรยาไว้ก่อนตาย
หลังจากนั้นก็มีเรื่องเล่า และตำนานแวมไพร์ถูกเล่าขานกันต่อมาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นเรื่องราวที่โด่งดังอีกครั้ง เมื่อ บราม สโตกเกอร์ นักเขียนชาวไอริชได้แต่งนิยายเรื่อง แดร็กคิวล่า ขึ้นมา โดยนำข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเจ้าชายนักรบแห่งวาลาเซีย ประเทศโรมาเนีย นามว่า วล้าด เทเปส หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วล้าด แดร็กคูล ที่แปลว่ามังกรวล้าดสุดผยอง มาเขียนเป็นนิยาย ซึ่งเจ้าชายแห่งวาลาเซียคนนี้ เป็นที่เลื่องลือมากในเรื่องของความเก่งกล้า และเหี้ยมโหดต่อศัตรูผู้รุกรานอย่างมาก เขามักจะสั่งให้ทหารนำศพศัตรูมาเสียบให้เลือดไหลทะลักออกมา ขณะที่เขาก็มีความสุขไปกับการเห็นภาพสุดสยองตรงหน้าแล้วมองดูมันด้วยความสะใจ และมักจะนั่งทานอาหารโดยมีศพนับสิบเสียบเลือดนองอยู่ตรงหน้าเสมอจากความโหดเหี้ยมดังกล่าว บราม สโตกเกอร์ เลยนำเรื่องราวของ วล้าด แดร็กคูล มาเชื่อมโยงกับตำนานแวมไพร์ เนื่องจากเห็นว่า วล้าด แดร็กคูล มีคุณสมบัติและอุปนิสัยหลายอย่างที่พ้องกับแวมไพร์เป็นอย่างมาก จึงเสกสรรปั้นแต่งให้ วล้าด แดร็กคูล หรือที่เรียกในนิยายว่า แดร็กคิวล่า กลายเป็นผีดูดเลือดไป และต่อมาผู้คนก็เข้าใจว่าเรื่องราวที่ บราม สโตกเกอร์ เขียนนั้นอ้างอิงมาจากเรื่องจริงทุกประการ แดร็กคิวล่า จึงได้รับความสนใจและกลายเป็นเรื่องราวของแวมไพร์ที่โด่งดังมากที่สุดมาจนปัจจุบันนี้ และนิยายดังกล่าวก็ส่งผลให้โบสถ์ออร์โธดอกซ์ ที่วล้าด แดร็กคูล เคยสร้างไว้และใช้เป็นที่ฝังศพของตัวเอง กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในโรมาเนีย เพราะผู้คนมักจะเชื่อตามเรื่องราวในนิยายว่า นั่นคือปราสาทที่อยู่ของแดร็กคิวล่า และเป็นสุสานผีดูดเลือดจริง ๆ อีกทั้งเชื่อว่า วล้าด แดร็กคูล เป็นผีดูดเลือดจริง ๆ อีกด้วย
ส่วนในโลกของความเป็นจริงนั้น เรื่องราวของแวมไพร์ก็ดูเหมือนจะปรากฏให้เห็นจริงในหลายสังคมตะวันตก โดยมีการเล่าขานกันอย่างไม่สร่างซาว่า มีคนที่ดูดเลือดคนด้วยกันเองอยู่หลายคน และพวกเขาก็คือแวมไพร์อย่างแท้จริง ขณะที่นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็ได้มีการอธิบายว่า แวมไพร์ในโลกของความเป็นจริงนั้น อาจไม่ใช่ "ผี" อย่างที่ปรากฎในเรื่องเล่า แต่เป็นคนธรรมดาที่ป่วยเป็นโรคทางจิตชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะชื่นชอบการดูดเลือดคนด้วยกันเอง โดยมีปมมาจากการจมอยู่ในความแค้นในอดีตก็เป็นได้
อย่างไรก็ดี แม้จะมีคำบอกเล่า และการสันนิษฐานหลายอย่าง แต่ตำนานแวมไพร์ก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนเชื่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ และก็เป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องราวเกี่ยวกับแวมไพร์หรือผีดูดเลือด ก็ยังเป็นที่สนใจของผู้คนไม่หาย มันยังคงถูกนำมาสร้างเป็นนิยาย ภาพยนตร์ และละครอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ และน่าแปลกที่เรื่องราวของผีดิบมักจะน่าติดตาม และมีความน่าสนใจในเรื่องราวของมันเองไม่ว่าจะสมัยไหน ก็เรียกว่าเรื่องราวของแวมไพร์ได้กลายเป็น "ตำนานผีดิบ" ที่ฆ่าไม่ตายไปแล้ว
1. แวมไพร์เป็นผีดิบในร่างของมนุษย์ มีฟันแหลมคม ดื่มเลือดมนุษย์เป็นอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงให้มีชีวิตเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย
2. แวมไพร์ถูกนำมาเปรียบเทียบเป็นมนุษย์ค้างคาวผีดิบ เนื่องจากแวมไพร์หากินกลางคืนต่างจากสัตว์ชนิดอื่น ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงแวมไพร์ ก็มักจะนึกถึงผีดิบผิวซีดในชุดสีดำคล้ายค้างคาว
3. ในตอนกลางวันแวมไพร์จะนอนนิ่งอยู่ในโลงศพ ในสภาพที่ตาข้างหนึ่งเปิดอยู่ มีเลือดติดอยู่ตามปากหรือจมูก
4. ในตอนกลางคืนแวมไพร์จะออกหาเหยื่อ เพื่อดูดเลือดบริเวณคอของเหยื่อ โดยเหยื่อมักจะเป็นเพศตรงข้ามเสมอ
5. แวมไพร์ ถ่ายทอดเชื้อสายด้วยการกัด แต่ผู้ที่ถูกกัดทุกคนอาจเสียชีวิตและไม่ได้ถูกปลุกขึ้นมาเป็นแวมไพร์ตัวใหม่ก็ได้
6. ศพของแวมไพร์จะไม่เน่าเปื่อย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด ใบหน้าจะยังดูมีเลือดไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา เพราะได้เลือดของเหยื่อหล่อเลี้ยงไว้
7. แวมไพร์ สามารถสยบได้ด้วยกระเทียม ซึ่งเป็นพืชที่มีกลิ่นฉุนมาก หรือไม้กางเขน และน้ำมนต์
ในแถบประเทศตะวันตก แวมไพร์ เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในประเทศอังกฤษ หลังจากมีการบันทึกในประวัติศาสตร์ว่า อาร์โนลด์ เปาเล ชาวเซอร์เบีย เป็นผู้ที่ได้รับการสืบเชื้อสายจากแวมไพร์ หลังจากที่เขากลับมาจากการปฏิบัติหน้าที่ทางการทหารในกรีซ และเขาก็ได้สารภาพกับภรรยาว่าถูกแวมไพร์ดูดเลือดและได้รับการถ่ายทอดเป็นแวมไพร์ ต่อมาไม่นานเขาได้เสียชีวิตลง แต่คนในหมู่บ้านยังเห็นเขาวนเวียนอยู่ในหมู่บ้านในยามค่ำคืน จึงมีการขุดเอาศพเขาขึ้นมาดูอีกครั้ง และพบว่า เขานอนนิ่งเป็นศพแต่กลับมีรอยเลือดติดอยู่ที่ปากของเขา ชาวบ้านจึงพิสูจน์ด้วยการตอกหมุดลงไปที่หัวใจ ปรากฎว่ามีเลือดไหลทะลักออกมาตามด้วยเสียงกรีดร้อง จากนั้นศพของเขาก็ถูกนำไปเผาและก็ไม่มีใครพบเขาปรากฎตัวในหมู่บ้านอีกเลยหลังจากนั้น แต่ต่อมาไม่นาน ก็พบแวมไพร์อีกหลายตัวอยู่ในหมู่บ้าน จึงเชื่อว่าแวมไพร์เหล่านั้นเป็นเชื้อสายของเปาเล และพวกเขาก็คงถูกเปาเลกัด ซึ่งพ้องกับสิ่งที่เปาเลได้เคยบอกภรรยาไว้ก่อนตาย
หลังจากนั้นก็มีเรื่องเล่า และตำนานแวมไพร์ถูกเล่าขานกันต่อมาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นเรื่องราวที่โด่งดังอีกครั้ง เมื่อ บราม สโตกเกอร์ นักเขียนชาวไอริชได้แต่งนิยายเรื่อง แดร็กคิวล่า ขึ้นมา โดยนำข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเจ้าชายนักรบแห่งวาลาเซีย ประเทศโรมาเนีย นามว่า วล้าด เทเปส หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วล้าด แดร็กคูล ที่แปลว่ามังกรวล้าดสุดผยอง มาเขียนเป็นนิยาย ซึ่งเจ้าชายแห่งวาลาเซียคนนี้ เป็นที่เลื่องลือมากในเรื่องของความเก่งกล้า และเหี้ยมโหดต่อศัตรูผู้รุกรานอย่างมาก เขามักจะสั่งให้ทหารนำศพศัตรูมาเสียบให้เลือดไหลทะลักออกมา ขณะที่เขาก็มีความสุขไปกับการเห็นภาพสุดสยองตรงหน้าแล้วมองดูมันด้วยความสะใจ และมักจะนั่งทานอาหารโดยมีศพนับสิบเสียบเลือดนองอยู่ตรงหน้าเสมอจากความโหดเหี้ยมดังกล่าว บราม สโตกเกอร์ เลยนำเรื่องราวของ วล้าด แดร็กคูล มาเชื่อมโยงกับตำนานแวมไพร์ เนื่องจากเห็นว่า วล้าด แดร็กคูล มีคุณสมบัติและอุปนิสัยหลายอย่างที่พ้องกับแวมไพร์เป็นอย่างมาก จึงเสกสรรปั้นแต่งให้ วล้าด แดร็กคูล หรือที่เรียกในนิยายว่า แดร็กคิวล่า กลายเป็นผีดูดเลือดไป และต่อมาผู้คนก็เข้าใจว่าเรื่องราวที่ บราม สโตกเกอร์ เขียนนั้นอ้างอิงมาจากเรื่องจริงทุกประการ แดร็กคิวล่า จึงได้รับความสนใจและกลายเป็นเรื่องราวของแวมไพร์ที่โด่งดังมากที่สุดมาจนปัจจุบันนี้ และนิยายดังกล่าวก็ส่งผลให้โบสถ์ออร์โธดอกซ์ ที่วล้าด แดร็กคูล เคยสร้างไว้และใช้เป็นที่ฝังศพของตัวเอง กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในโรมาเนีย เพราะผู้คนมักจะเชื่อตามเรื่องราวในนิยายว่า นั่นคือปราสาทที่อยู่ของแดร็กคิวล่า และเป็นสุสานผีดูดเลือดจริง ๆ อีกทั้งเชื่อว่า วล้าด แดร็กคูล เป็นผีดูดเลือดจริง ๆ อีกด้วย
ส่วนในโลกของความเป็นจริงนั้น เรื่องราวของแวมไพร์ก็ดูเหมือนจะปรากฏให้เห็นจริงในหลายสังคมตะวันตก โดยมีการเล่าขานกันอย่างไม่สร่างซาว่า มีคนที่ดูดเลือดคนด้วยกันเองอยู่หลายคน และพวกเขาก็คือแวมไพร์อย่างแท้จริง ขณะที่นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็ได้มีการอธิบายว่า แวมไพร์ในโลกของความเป็นจริงนั้น อาจไม่ใช่ "ผี" อย่างที่ปรากฎในเรื่องเล่า แต่เป็นคนธรรมดาที่ป่วยเป็นโรคทางจิตชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะชื่นชอบการดูดเลือดคนด้วยกันเอง โดยมีปมมาจากการจมอยู่ในความแค้นในอดีตก็เป็นได้
อย่างไรก็ดี แม้จะมีคำบอกเล่า และการสันนิษฐานหลายอย่าง แต่ตำนานแวมไพร์ก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนเชื่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ และก็เป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องราวเกี่ยวกับแวมไพร์หรือผีดูดเลือด ก็ยังเป็นที่สนใจของผู้คนไม่หาย มันยังคงถูกนำมาสร้างเป็นนิยาย ภาพยนตร์ และละครอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ และน่าแปลกที่เรื่องราวของผีดิบมักจะน่าติดตาม และมีความน่าสนใจในเรื่องราวของมันเองไม่ว่าจะสมัยไหน ก็เรียกว่าเรื่องราวของแวมไพร์ได้กลายเป็น "ตำนานผีดิบ" ที่ฆ่าไม่ตายไปแล้ว
วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วิทยาศาสตร์บนไม้กวาดของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (Harry Potter)
แฮร์รี่ พอตเตอร์ขึ้นบินครั้งแรกด้วยไม้กวาดของโรงเรียนฮอกวอตส์ในวิชาฝึกบินของมาดามฮูช แต่ไม้กวาดด้ามแรกที่เป็นของเขาเอง คือ "นิมบัสสองพัน" ส่วนไม้กวาดด้ามที่ 2 ของเขา คือ "ไฟร์โบลต์" ซึ่งทำความเร็วได้สูงสุดถึง 240 ก.ม./ช.ม. และสำหรับแฟนๆ ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าฉากควิดดิช เกมส์กีฬาของเหล่าพ่อมดแม่มดที่ใช้ไม้กวาดเป็นพาหนะนั้น เป็นฉากที่ตื่นตาตื่นใจไม่น้อย แล้วมันจะมีโอกาสเป็นความจริงได้บ้างหรือไม่?
จากหลักการในหนังสือ "วิทยาศาสตร์ในแฮร์รี่พอตเตอร์" (The Science of Harry Potter) ของ Roger Highfield อธิบาย ดังนี้
คนที่สามารถล่องลอยบนอากาศได้ ต้องขึ้นอยู่กับการเอาชนะแรงโน้มถ่วงด้วยการสร้างพลังแม่เหล็กที่สมบูรณ์ ดังที่ Andre Geim จากฮอลแลนด์ ได้ทดลองยกกบตัวเล็กให้ลอยกลางอากาศ ด้วยพลังแม่เหล็กจากการใช้รูปแบบของสภาวะแม่เหล็ก ที่เรียกว่า Diamagnetism (วัตถุที่เมื่อนำแม่เหล็กเข้าใกล้ จะเกิดแรงผลักอ่อนๆ ออกนอกสนามแม่เหล็ก เมื่อนำแม่เหล็กออกไป คุณสมบัติแม่เหล็กนี้ก็หายไปด้วย)
การยกกบให้ลอยขึ้นสูงสองเมตรในกระบอกทดลอง ต้องใช้สนามแม่เหล็กที่มีกำลังสูงกว่าสนามแม่เหล็กธรรมชาติของโลกถึง 1 แสนเท่า และสูงกว่าแม่เหล็กติดตู้เย็นประมาณ 10 ถึง 100 เท่า แต่ปัญหาคือ ร่างกายมีคุณสมบัติทางแม่เหล็กไม่สม่ำเสมอทั่วร่างกาย เนื้อหลังกับกระดูกจึงถูกดึงขึ้นและรั้งลงไปทั่วร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น หากยังไม่มีทฤษฎีอื่นมารองรับ หรือวิทยาการที่ก้าวไกลมากขึ้น
อย่าเพิ่งทดลองบินด้วยทฤษฎีนี้จะดีกว่า
จากหลักการในหนังสือ "วิทยาศาสตร์ในแฮร์รี่พอตเตอร์" (The Science of Harry Potter) ของ Roger Highfield อธิบาย ดังนี้
คนที่สามารถล่องลอยบนอากาศได้ ต้องขึ้นอยู่กับการเอาชนะแรงโน้มถ่วงด้วยการสร้างพลังแม่เหล็กที่สมบูรณ์ ดังที่ Andre Geim จากฮอลแลนด์ ได้ทดลองยกกบตัวเล็กให้ลอยกลางอากาศ ด้วยพลังแม่เหล็กจากการใช้รูปแบบของสภาวะแม่เหล็ก ที่เรียกว่า Diamagnetism (วัตถุที่เมื่อนำแม่เหล็กเข้าใกล้ จะเกิดแรงผลักอ่อนๆ ออกนอกสนามแม่เหล็ก เมื่อนำแม่เหล็กออกไป คุณสมบัติแม่เหล็กนี้ก็หายไปด้วย)
การยกกบให้ลอยขึ้นสูงสองเมตรในกระบอกทดลอง ต้องใช้สนามแม่เหล็กที่มีกำลังสูงกว่าสนามแม่เหล็กธรรมชาติของโลกถึง 1 แสนเท่า และสูงกว่าแม่เหล็กติดตู้เย็นประมาณ 10 ถึง 100 เท่า แต่ปัญหาคือ ร่างกายมีคุณสมบัติทางแม่เหล็กไม่สม่ำเสมอทั่วร่างกาย เนื้อหลังกับกระดูกจึงถูกดึงขึ้นและรั้งลงไปทั่วร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น หากยังไม่มีทฤษฎีอื่นมารองรับ หรือวิทยาการที่ก้าวไกลมากขึ้น
อย่าเพิ่งทดลองบินด้วยทฤษฎีนี้จะดีกว่า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)